กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11357
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการใช้ดุลพินิจของศาลในการรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบศึกษากรณีประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226/1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems on using the judicial discretion on inclusionary rule of the unlawfully obtained evidence, case study: Section 226/1 of the Criminal Procedure Code
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อิงครัต ดลเจิม
สุริยน ยุวภูมิ, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: ดุลยพินิจทางการปกครอง
ดุลยพินิจ
พยานหลักฐานคดีอาญา
น้ำหนักพยานหลักฐาน
การซักพยาน
วิธีพิจารณาความอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี ความหมาย และหลักการต่าง ๆ ทางกระบวนการยุติธรรมทางอาญา หลักมนุษยชน หลักการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชน (2) ศึกษา ถึงมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบ และ (3) วิเคราะห์ปัญหา กฎหมายเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจของศาลเพื่อรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาจากบทความทางวิชาการ ตำราวิชาการ วิทยานิพนธ์ทางกฎหมาย คำพิพากษา ประมวลกฎหมาย รัฐธรรมนูญ และเว็บไซต์ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงเอกสารทางวิชาการ แนวคิด ทฤษฎี บทความทางกฎหมาย ผลการศึกษา พบว่า (1) หลักมนุษยชน และสิทธิเสรี ภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนเป็นสิ่งที่มี ความสำคัญสูงสุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อำนาจในการแสวงหาพยานหลักฐานในคดีอาญาในปัจจุบัน ฉะนั้น เจ้าพนักงานของรัฐที่เป็นองค์กรผู้ใช้บังคับกฎหมาย ย่อมจะต้องปฏิบัติตามแนวทางภายใต้กรอบและกฎเกณฑ์ ตามที่กฎหมายวางไว้โดยเคร่งครัดเสมอ โดยเฉพาะการใช้อำนาจในการแสวงหาพยานหลักฐานที่ได้กระทำไป โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐานชิ้นนั้นเป็นพยานหลักฐานโดยทันที อย่างไม่มีข้อยกเว้น เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานให้เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรมอีกทั้งเป็นการลดการใช้อำนาจตามอำเภอใจ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ (2) สำหรับในประเทศไทยแม้มีบทบัญญัติที่ไม่ให้รับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226 ก็ตาม แต่ก็มีการออกกฎหมายตามประมวลวิธีพิจารณา ความอาญามาตรา 226/1 ขึ้นมาเพื่อผ่อนปรนการรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบนี้ หากจะสามารถพิสูจน์ ความผิดของจ าเลยและสามารถด ารงความยุติธรรมและไม่กระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรม ศาลก็สามารถ รับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบนี้ได้ (3) การออกกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226/1 นั้น ส่งผลเสียต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน เนื่องจากเจ้าพนักงานอาจใช้อ านาจโดยมิชอบ กระท าการ โดยไม่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพื่อให้ได้ซึ่งพยานหลักฐานที่ตนเองต้องการและเป็นการออกกฎหมาย ขัดต่อรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักสิทธิเสรีภาพ ทั้งขัดต่อหลักมนุษยชนด้วย จึงไม่เห็นควรในการนำถ้อยคำในเรื่อง การอำนวยความยุติธรรม มาตรฐานของระบบงานยุติธรรม ทั้งการแก้ไขเรื่องการนำหลักสิทธิเสรีภาพมาใช้ เป็นเงื่อนไขในการรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบของศาล
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11357
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons