กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11359
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาชุมชน บ้านโคกเมือง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Participation in sustainable community-based tourism management case study: Ban Khok Mueang community, Prakhon Chai District, Buriram Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย
บุษบากร ดาษดา, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: การท่องเที่ยวโดยชุมชน--ไทย
การท่องเที่ยว--ไทย--บุรีรัมย์--การมีส่วนร่วมของประชาชน
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน--ไทย--บุรีรัมย์--การมีส่วนร่วมของประชาชน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การมีส่วนร่วมการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนและ (3) แนวทางการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนในชุมชนบ้านโคกเมือง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเลือกศึกษาชุมชนบ้านโคกเมืองอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาทั้งหมด 2,718 คน ใช้การกำหนดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ เยมาเน่ ได้จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือแบบสอบถาม โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญพบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) การมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการท่องเที่ยวคือ เพศ (3) แนวทางการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวภายในชุมชน การเพิ่มฐานการเรียนรู้รวมถึงการจัดภูมิทัศน์โดยรอบของชุมชนให้ดูสะอาดและสวยงาม การทำนุบำรุงและดูแลความสะอาดสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งโบรานสถานที่อยู่ภายในชุมชนเพื่อให้เกิดการดำเนินงานและการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในอนาคต (4) ข้อเสนอแนะการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน การบริหารจัดการภายในชุมชนนั้นควรมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารส่วนต่าง ๆ ของชุมชนเพิ่มมากขึ้น และควรมีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมต่าง ๆ ให้บุคคล หรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้รู้จักชุมชนบ้านโคกเมืองเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์แก่ชุมชนเอง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11359
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168669.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons