Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1136
Title: การเสริมน้ำกากส่าเหล้าจากอุตสาหกรรมสุราเพื่อสร้างอาหารธรรมชาติในบ่อเลี้ยงปลานิล
Other Titles: Supplementation of slop from alcoholic industry as natural feed for fish (oreochromis niloticus) in pond
Authors: สราวุธ สุธรรมาสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
จักรกฤษณ์ ศิวะเดชาเทพ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภาวดี สุดศักดา, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ปลานิล--อาหาร
กากส่าเหล้า--การใช้ประโยชน์
Issue Date: 2547
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำน้ำกากส่าเหล้า จากโรงงานสุรามาใช้เสริมกับอาหารปลาสำเร็จรูปในการเลี้ยงปลานิล และมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ (1) เปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของปลานิลในแต่ละสูตรอาหาร (2) เปรียบเทียบอัตราการแลกเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อและต้นทุนค่าอาหารในแต่ละสูตรอาหาร (3) ศึกษาคุณภาพน้ำของบ่อเลี้ยงปลานิลจากการให้อาหารในสูตรต่าง ๆ การศึกษาครังนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มตลอด โดยการเลี้ยงปลานิล น้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้น 9.5 กรัม และความยาวเฉลี่ยเริ่มต้น 8.0 เซนติเมตร จํานวน 300 ตัว เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ในบ่อซีเมนต์กลม โดยใช้สูตรอาหารที่แตกต่างกัน 5 สูตร 3 ซ้ำ ดังนี้ (1) ให้เฉพาะน้ำกากส่าเหล้า 1.0 พีพีเอ็ม (2) ให้เฉพาะอาหารปลาสำเร็จรูป (3) ให้อาหารปลาสําเร็จรูป และเติมน้ำกากส่าเหล้า 0.5 พีพีเอ็ม (4) ให้อาหารปลาสำเร็จรูป และเติมน้ำกากส่าเหล้า 1.0 พีพีเอ็ม (5) ให้อาหารปลา สำเร็จรูป และเติมน้ำกากส่าเหล้า 1.5 พีพีเอ็ม จากการวิจัยพบว่า (1) ปลานิลในสูตรที่ 1-4 มีน้ำหนักเฉลี่ยเป็น 11.03, 16.05, 14.24 และ 14.99 กรัม/ตัว ตามลำดับ ซึ่งปลานิลในสูตรที่ 2 มีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุดและไม่แตกต่างจากปลานิลในสูตรที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนปลานิลในสูตรที่ 5 ไม่สามารถนำมาคำนวณค่าทางสถิติได้ เนื่องจากมีอัตราการรอดตายเป็นศูนย์ อัตราการรอดตายของปลานิลในสูตรที่ 1-4 มีค่า ร้อยละเป็น 65.00, 95.00, 85.00 และ 91.67 ตามลำดับ ปลานิลในสูตรที่ 1 มีค่าอัตราการรอดตายแตกต่างจากปลานิลในสูตรที่ 2-4 อย่างมีนัยสำคัญ (2) ปลานิลในสูตรที่ 4 มีอัตราการแลกเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อและต้นทุนค่าอาหารต่ำที่สุด รองลงมาคือปลานิลในสูตรที่ 2 และ 3 ตามลำดับ (3) คุณภาพน้ำตามพารามิเตอร์ต่าง ๆ ในทุกกลุ่มสูตรอาหาร ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ จากผลการทดลองครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าน้ำกากส่าเหล้าจากอุตสาหกรรมสามารถใช้เสริมกับอาหารปลาสําเร็จรูปในการเลี้ยงปลานิลได้ แต่น้ำกากส่าเหล้าในอัตรา 1.5 พีพีเอ็ม ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1136
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
86606.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.19 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons