กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11360
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการบำรูงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วมของโรงงานผลิตนํ้ามันพืชในจังหวัดปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Production efficiency optimization by Total Productive Maintenance of vegetable oil production factory in Pathum Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บริบูรณ์ ปิ่นประยงค์
อภินันทร์ วิจิตธำรงศักดิ์, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: น้ำมันพืช--ผลิตภาพ
การเพิ่มผลผลิตทางอุตสาหกรรม
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องจักรในระบบการผลิตน้ำมันพืชก่อนและภายหลังการนำการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วมมาใช้ ของโรงงานผลิตน้ำมันพืชในจังหวัดปทุมธานี (2) เปรียบเทียบประสิทธิภพโดยรวมของเครื่องจักรในระบบการผลิตน้ำมันพืชก่อนและกายหลังการนำการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วมมาใช้ ของโรงงานผลิตน้ำมันพืชในจังหวัดปทุมธานี และ (3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพของเครื่องจักรในระบบการผลิตน้ำมันพืช ของโรงงานผลิตน้ำมันพืชในจังหวัดปทุมธานี การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพประชากรที่ศึกษา คือ ผู้จัดการฝ่ายผลิตและซ่อมบำรุง จำนวน 2 คน และพนักงานฝ่ายการผลิตและซ่อมบำรุง จำนวน 205 คน โดยใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และใบรายงานการปฏิบัติงานประจำวันของพนักงานฝ่ายการผลิตและซ่อมบำรุงก่อนใช้การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ - เมษายน และภายหลังใช้การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วมตั้งแต่เดือน พฤษภาคม -กรกฏาคม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สมการทางคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการอุปนัขและการจำแนกชนิดข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษา พบว่า (1) ระบบการผลิตน้ำมันพืชก่อนการใช้การจัดการบำรุงรักษาเชิงทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม พบว่า ระบบมีการทำงานของระบบเป็นไปในรูปแบบอนุกรมและต่อเนื่อง และบางจุดไม่มีระบบสำรองทำให้มีค่าประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 83.8% ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของอุตสาหกรรมการผลิตภายหลังจากการนำการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคน มีส่วนร่วม ด้วยเสาหลักที่ 1 การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง เสาหลักที่ 2 การบำรุงรักษาด้วยตัวเอง เสาหลักที่ 3 การบำรุงรักษาเชิงวางแผน และเสาหลักที่ 4 การศึกษาและฝึกอบรม พบว่า ประสิทธิภพ โดยรวมของเครื่องจักรระบบการผลิตน้ำมันพืชมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 87.72% (2) การเปรียบเทียบประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร ในระบบการผลิตน้ำมันพืชก่อนและภายหลังการนำการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วมมาใช้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีค่เพิ่มขึ้น 3.92% และการสูญเสียทรัพยากรและการเสียหรือขัดข้องของเครื่องจักรในระบบการผลิตน้ำมันพืชภายหลังใช้การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม มีแนวโน้มเป็นไปในทางที่ลดลงและ (3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพของเครื่องจักร ในระบบการผลิตน้ำมันพืช ของโรงงานผลิตน้ำมันพืชในจังหวัดปทุมธานีที่สำคัญ ได้แก่ 1) ควรส่งเสริมการนำกิจกรรม การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วมมาประยุกต์ใช้ โดยผู้บริหารระดับสูงมาเป็นประธานของกิจกรรม เพื่อเป็นการกระตุ้น และสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมพนักงานได้อย่างต่อเนื่องและสัมฤทธิ์ผล 2) กรณีเป็นโรงงานที่มีขนาดใหญ่ควรใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าช่วยเพื่อให้การเก็บข้อมูลและแปรผลดำเนินการไปได้อย่างรวดเร็ว 3) ควรมีการสื่อสารเกี่ยวกับการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรให้กับพนักงานทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นแรงจูงใจและเป็นการปรับปรุงในระดับสูงต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11360
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
167884.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons