Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11366
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวราภรณ์ วนาพิทักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสาธิต คงแตง, 2514--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-02-02T02:20:42Z-
dc.date.available2024-02-02T02:20:42Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11366-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎี ความเป็นมา และของอายุความในคดีอาญาตามกฎหมายไทย และหลักการของอายุความในคดีอาญาของต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหยุดนับอายุความในกรณีที่ผู้กระทำความผิดหลบหนีจากกระบวนการยุติธรรม (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินคดียาเสพติดถึงตลอดจนมาตรการทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยสังเขป (3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดอายุความและการนับอายุความในคดียาเสพติด ตามกฎหมายไทยและต่างประเทศ และ (4) นำผลวิเคราะห์มาสังเคราะห์เป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับอายุความคดียาเสพติดตามกฎหมายไทยในกรณีที่ผู้กระทำความผิดหลบหนี จากกระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร โดยมีการศึกษาประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทย ในการหยุดนับอายุความคดียาเสพติด รวมไปถึงพระราชบัญญัติยาเสพติดต่างๆ ในการนับอายุความและกฎหมายเกี่ยวกับการหยุดนับอายุความในประเทศสหรัฐอเมริกา การศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้มีการรวบรวมข้อมูล ให้เป็นระบบและใช้วิธีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถเป็นแนวทางในการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในการหยุดนับอายุความคดียาเสพติด ผลการศึกษาพบว่า (1) การหยุดนับอายุความคดียาเสพติด ตามประมวลกฎหมายอาญาไทย มีรายละเอียดในบทบัญญัติไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และกฎหมายนี้ได้มีการบัญญัติมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน จึงทำให้กฎหมายนั้นเกิดช่องว่าง ให้ผู้กระทำความผิดหลบหนีไปประเทศเพื่อนบ้าน หรือเส้นทางธรรมชาติชายแดนต่างๆ ที่มีความสะดวกสบายในการเดินทางมากขึ้น รวมไปถึงการสื่อสารที่มีความทันสมัยเมื่อผู้กระทำความผิดได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี ผู้กระทำความผิดจึงเลือกที่จะหลบหนีไปจนขาดอายุความ เมื่อครบอายุความ 20-30 ปี ตามประมวลกฎหมายที่บัญญัติไว้นั้น จะทำให้คดีความนั้นหมดอายุความทันที และไม่สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมารับโทษทางกฎหมายได้อีก จึงเป็นข้อสังเกตได้ว่าประมวลกฎหมายไทยยังขาดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลที่ดี ในการนำตัวผู้กระทำความผิดมารับโทษทางกฎหมายได้ อีกทั้งผู้กระทำความผิดยังขาดความเกรงกลัวต่อกฎหมายอีกด้วย (2) จากการศึกษากฎหมายในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการกำหนดอายุความไว้อย่างละเอียดอ่อน และมีการบังคับใช้อย่างเข้มงวด การหยุดนับอายุความหรือขยายอายุความนั้นจะถูกพิจารณาอย่างละเอียดจากนั้นเมื่อถึงเวลาจะมีการนำมาพิจารณาคดีอีกครั้ง เพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมารับโทษทางกฎหมายได้ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไหร่ก็ตาม (3) การแก้ไขเพิ่มเติมในบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องการกำหนดอายุความในการดำเนินคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 ว่า เมื่อศาลสั่งพิจารณาให้ออกหมายจับในคดีความผิดอาญาแผ่นดินร้ายแรงที่มีผลกระทบต่อประชาชน สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุก 20 ปี ตามมาตรา 95 (1)หรือความผิดที่เกี่ยวกับยาเสพติด ให้ถือว่าเป็นคดีที่ไม่กำหนดอายุความ และ (4) การแก้ไขเพิ่มเติมในบทบัญญัติควรมีหลักการหยุดนับอายุความชั่วคราว หรืออายุความสะดุดหยุดอยู่ นำมาใช้ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดหลบหนีจากกระบวนการยุติธรรมก่อนฟ้องคดี และในระหว่างการพิจารณาคดี ทั้งนี้เพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectอายุความth_TH
dc.subjectการจำกัดอายุความฟ้องคดี (กฎหมายอาญา)th_TH
dc.subjectกระบวนการยุติธรรมทางอาญาth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleการหยุดนับอายุความคดียาเสพติดth_TH
dc.title.alternativeStop counting or drug casesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this independent study are: (1) to study the theory, background, and prescription of criminality in accordance with Thai law and the principles of aging in foreign criminal cases. In particular, stopping the prescription count in cases where the offender escapes justice (2) to study the problems and obstacles of drug prosecution, as well as legal measures to resolve the drug problem, briefly (3) to analyze problems relate with determination of prescription and counting of prescription for drug cases in accordance with Thai and foreign law, and (4) to conduct the analysis results to be synthesized as a way to amend the law in relation to the prescription of drug cases under Thai law in case the offender escapes justice properly. This independent study is a qualitative research with document research methods, with a study of the Criminal Code of Thailand. To stop counting the prescription of drug cases, including the Drugs Act on prescription counts and laws on stopping prescription counts in the United States. In this study, the study authors systematically collected information and used analytical and synthetic methods to obtain information that could guide the proposed amendment to the law to stop counting the prescription of drug litigation. The results showed that (1) stop counting the prescription of drug cases under the Thai Criminal Code. It was found that the details in the provision were found. It is not suitable for the current social conditions that have changed dramatically, and the law has been enacted for a long period of time, thus leaving the law gaping for offenders to flee to neighboring countries or border natural routes with more convenience travel convenience and up to date communications. When the offender is temporary released. When the offender is released on bail pending trial, he will be released on bail. The offender chose to flee until the prescription of aging case from 20 to 30 years, according to the Code, the case will be expired immediately, and the offender cannot be brought to legal action again, which is to be noted that the Thai Code is inefficient and well efficiency for taking the offenders to legal action. Moreover, the offender also lacks fear of the law. (2) According to law studies in the United States, a delicate prescription has been imposed and strictly enforcement is applied. Then, the stop counting, and extended prescription case will be re-considered to bring the offenders to legal action though how long-time pass. (3) Amendments to the Provisions regarding the Prescription of Criminal Prosecutions under Article 95 of the Criminal Code that when the court orders the arrest warrant to be issued for serious national criminal offenses affecting the public. For offenses punishable by the death penalty, life imprisonment or 20 years in prison under Section 95 (1) or drug-related offenses, shall be considered non-prescription-related cases, and (4) Amendments to the provisions should have the principle for temporarily stop counting of prescription cases, or the stumble prescription ceasing. It is used in cases where the offender escapes justice before prosecution and during the trial to bring the offender into the legal process.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168502.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.38 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons