Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11366
Title: | การหยุดนับอายุความคดียาเสพติด |
Other Titles: | Stop counting or drug cases |
Authors: | วราภรณ์ วนาพิทักษ์ สาธิต คงแตง, 2514- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | อายุความ การจำกัดอายุความฟ้องคดี (กฎหมายอาญา) กระบวนการยุติธรรมทางอาญา การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎี ความเป็นมา และของอายุความในคดีอาญาตามกฎหมายไทย และหลักการของอายุความในคดีอาญาของต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหยุดนับอายุความในกรณีที่ผู้กระทำความผิดหลบหนีจากกระบวนการยุติธรรม (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินคดียาเสพติดถึงตลอดจนมาตรการทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยสังเขป (3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดอายุความและการนับอายุความในคดียาเสพติด ตามกฎหมายไทยและต่างประเทศ และ (4) นำผลวิเคราะห์มาสังเคราะห์เป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับอายุความคดียาเสพติดตามกฎหมายไทยในกรณีที่ผู้กระทำความผิดหลบหนี จากกระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร โดยมีการศึกษาประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทย ในการหยุดนับอายุความคดียาเสพติด รวมไปถึงพระราชบัญญัติยาเสพติดต่างๆ ในการนับอายุความและกฎหมายเกี่ยวกับการหยุดนับอายุความในประเทศสหรัฐอเมริกา การศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้มีการรวบรวมข้อมูล ให้เป็นระบบและใช้วิธีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถเป็นแนวทางในการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในการหยุดนับอายุความคดียาเสพติด ผลการศึกษาพบว่า (1) การหยุดนับอายุความคดียาเสพติด ตามประมวลกฎหมายอาญาไทย มีรายละเอียดในบทบัญญัติไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และกฎหมายนี้ได้มีการบัญญัติมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน จึงทำให้กฎหมายนั้นเกิดช่องว่าง ให้ผู้กระทำความผิดหลบหนีไปประเทศเพื่อนบ้าน หรือเส้นทางธรรมชาติชายแดนต่างๆ ที่มีความสะดวกสบายในการเดินทางมากขึ้น รวมไปถึงการสื่อสารที่มีความทันสมัยเมื่อผู้กระทำความผิดได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี ผู้กระทำความผิดจึงเลือกที่จะหลบหนีไปจนขาดอายุความ เมื่อครบอายุความ 20-30 ปี ตามประมวลกฎหมายที่บัญญัติไว้นั้น จะทำให้คดีความนั้นหมดอายุความทันที และไม่สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมารับโทษทางกฎหมายได้อีก จึงเป็นข้อสังเกตได้ว่าประมวลกฎหมายไทยยังขาดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลที่ดี ในการนำตัวผู้กระทำความผิดมารับโทษทางกฎหมายได้ อีกทั้งผู้กระทำความผิดยังขาดความเกรงกลัวต่อกฎหมายอีกด้วย (2) จากการศึกษากฎหมายในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการกำหนดอายุความไว้อย่างละเอียดอ่อน และมีการบังคับใช้อย่างเข้มงวด การหยุดนับอายุความหรือขยายอายุความนั้นจะถูกพิจารณาอย่างละเอียดจากนั้นเมื่อถึงเวลาจะมีการนำมาพิจารณาคดีอีกครั้ง เพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมารับโทษทางกฎหมายได้ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไหร่ก็ตาม (3) การแก้ไขเพิ่มเติมในบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องการกำหนดอายุความในการดำเนินคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 ว่า เมื่อศาลสั่งพิจารณาให้ออกหมายจับในคดีความผิดอาญาแผ่นดินร้ายแรงที่มีผลกระทบต่อประชาชน สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุก 20 ปี ตามมาตรา 95 (1)หรือความผิดที่เกี่ยวกับยาเสพติด ให้ถือว่าเป็นคดีที่ไม่กำหนดอายุความ และ (4) การแก้ไขเพิ่มเติมในบทบัญญัติควรมีหลักการหยุดนับอายุความชั่วคราว หรืออายุความสะดุดหยุดอยู่ นำมาใช้ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดหลบหนีจากกระบวนการยุติธรรมก่อนฟ้องคดี และในระหว่างการพิจารณาคดี ทั้งนี้เพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมาย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11366 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
168502.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License