Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11368
Title: การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งท้องถิ่น : ศึกษาเปรียบเทียบกรณีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด กับกรณีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลในเตา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
Other Titles: Political participation in local elections : a comparative study of the election of the executive of the Provincial Administrative Organization and the chief executive of the Sub-district Administrative Organization in the Administrative Organization of Nai Tao Subdistrict, Huai Yot District, Trang Province
Authors: ขจรศักดิ์ สิทธิ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศศิกานต์ สุกกระ, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: การมีส่วนร่วมทางการเมือง--ไทย
การเลือกตั้งท้องถิ่น--ไทย--ตรัง
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลในเตา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง (2) ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลในเตา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบผสานวิธีทั้ง โดยการศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลในเตา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง คัดเลือกโดยสูตรทาโรยามาเน่ จำนวน 340 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การแจกแจง ความถี่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 16 คน โดยการสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า (1) ปัจจัยที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด คือปัญหาด้านสุขภาพ และปัจจัยที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เนื่องจากกลัวเสียสิทธิตามกฎหมาย ปัจจัยความต้องการในการเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง คือ ต้องการบุคคลที่บริหารท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี เป็นพรรคการเมืองที่บุคลากรในพรรคมีคุณภาพ ปัจจัยด้านการเดินทางไม่เป็นเป็นปัญหาอุปสรรคใดๆ และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้ง คือ ได้ข้อมูลข่าวสารจากรถแห่หาเสียง (2) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ในช่วงที่มีการเลือกตั้ง ต่างใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นทุกครั้ง ยกเว้นผู้ที่ไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิได้ เช่น ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพสำหรับผู้ที่ไปใช้สิทธินั้น จะเลือกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากผลงาน นโยบาย ส่วนการเลือกนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ส่วนมากจะเลือกจากความเป็นเครือญาติ คนใกล้ชิดที่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ส่วนผู้ที่อาศัยอยู่ต่างพื้นที่ส่วนมากจะกลับมาเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเพราะต้องการเดินทางกลับมาเลือกคนใกล้ชิดที่รู้จัก คนที่เป็นเครือญาติ เพื่อให้เขาได้เข้าไปทำงานดูแลชุมชนของเรา ซึ่งในแต่ละครอบครัวก็จะชักชวนสมาชิกให้เลือกคนที่เขาพอใจเหมือนกัน แต่ผู้ที่อาศัยอยู่ต่างพื้นที่ส่วนมากไม่กลับมาเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เนื่องจาก คิดว่าการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่ได้มีความสำคัญเท่าไหร่ ไม่ค่อยมีข้อมูลของผู้สมัครและพรรค จึงทำให้ไม่สนใจที่จะเดินทางกลับมาใช้สิทธิ เพราะต้องลางาน ต้องเดินทางไกล ใช้ทั้งระยะเวลาและค่าใช้จ่าย จึงรู้สึกไม่สำคัญและไม่คุ้มค่าที่ต้องเดินทางกลับมาใช้สิทธิ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11368
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168564.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.87 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons