Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11374
Title: | สมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพของนักสื่อสารสุขภาพ (นสส.) โครงการเฝ้าระวังและรณรงค์ป้องกันการมีสภาวะเสี่ยงเพื่อการมีสุขภาวะที่ดี ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชี้อไวรัสโควิด-19 |
Other Titles: | Communication capacities of public health communicators in the Project to monitor and campaign for risk prevention for good health outcomes during the COVID-19 infectious disease outbreak |
Authors: | กมลรัฐ อินทรทัศน์ ธนกร นุกูลโรจน์, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ |
Keywords: | การสื่อสารทางการแพทย์--ไทย โรคติดต่อ--การป้องกัน การศึกษาอิสระ--การบูรณาการการสื่อสาร |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จด้านการสื่อสารสุขภาพของนักสื่อสารสุขภาพ (นสส.) โครงการเฝ้าระวังและรณรงค์ป้องกันการมีภาวะเสี่ยงเพื่อการมีสุขภาวะที่ดีภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และ 2) สมรรถนะของนักสื่อสารสุขภาพที่ส่งผลต่อความสำเร็จด้านการสื่อสารสุขภาพ โครงการเฝ้าระวังและรณรงค์ป้องกันการมีภาวะเสี่ยงเพื่อการมีสุขภาวะที่ดีภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาคโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ที่ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือนักวิชาการสาธารณสุข พยาบาลอาสาสมัครประสานสิทธิ์ ทีมประสานสิทธิ์คนพิการที่ปฏิบัติงานภายใต้โครงการฯ จำนวน 132 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างตามบัญชีรายชื่อของ นสส. ที่มีความสมัครใจในการให้ข้อมูลของแต่ละพื้นที่จาก 22 หน่วยงาน โดยเครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จด้านการสื่อสารสุขภาพของนักสื่อสารสุขภาพ (นสส.) โครงการฝ้าระวังและรณรงค์ป้องกันฯ ทุกปัจจัยอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาแต่ละปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จด้านการสื่อสารสุขภาพของ นสส. โครงการเฝ้าระวังและรณรงค์ป้องกันฯ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลสูงสุดคือ ปัจจัยด้านการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และปัจจัยด้านการประสานงาน รองลงมาคือ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมสังคมและสิ่งแวดล้อม ตามด้วยปัจจัยด้านความถูกต้อง การมีแหล่งอ้างอิงและความน่าเชื่อถือ 2) สมรรถนะของนักสื่อสารสุขภาพ (นสส.) ที่ส่งผลต่อความสำเร็จด้านการสื่อสารสุขภาพ โครงการเฝ้าระวังและรณรงค์ป้องกันฯ พบว่า นสส.ส่วนใหญ่มีสมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคือ สมรรถนะด้านการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ สมรรถนะด้านการเป็นผู้นำ และสมรรถนะด้านการสื่อสารเพื่อการรณรงค์ในการขับเคลื่อนชุมชนและสังคม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11374 |
Appears in Collections: | Comm-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
168407.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License