กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11376
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยการสื่อสารและการเปิดรับสื่อที่มีผลต่อการหาเสียงเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Communication and campaign for the position of chairman of the provincial administrative organization of Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: หฤทัย ปัญญาวุธตระกูล, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษฎา ปานบำรุง, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
คำสำคัญ: การสื่อสารทางการเมือง--ไทย--สุราษฎร์ธานี
การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง--ไทย--สุราษฎร์ธานี
การศึกษาอิสระ--นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ 1) ปัจจัยการสื่อสาร 2) การเปิดรับสื่อ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรกับปัจจัยการสื่อสาร และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับสื่อที่มีผลต่อการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 400 คน จากการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ก่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทคสอบสมมติฐานด้วยสถิติอ้างอิง ได้แก่ ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการสื่อสารด้านคุณสมบัติของตัวผู้สมัครที่มีผลต่อการหาเสียงเลือกตั้ง ได้แก่ การเป็นผู้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมีผลต่อการหาเสียงเลือกตั้งมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 บุคลิกภาพของผู้สมัคร ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 ทักษะการสื่อสารของผู้สมัคร ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 และพรรคการเมืองที่สังกัด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.62 ตามลำดับ 2) การเปิดรับสื่อภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณารายด้าน ได้แก่ สื่อบุคคลมีผลต่อการหาเสียงเลือกตั้งมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.07 สื่อเฉพาะกิจ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 สื่อมวลชนท้องถิ่น ค่าเฉลี่ย 4.05 และสื่อใหม่ ค่าเฉลี่ย 4.00 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า ประชาชนยังคงนิยมสื่อบุคคลโดยเฉพาะผู้สมัครเดินเคาะประตูหาเสียงตามบ้านและให้ความสำคัญกับสื่อมวลชนท้องถิ่น ได้แก่ วิทยุชุมชน และหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น 3) ลักษณะทางประชากรมีความสัมพันธ์กับปัจจัยการสื่อสารที่มีผลต่อการหาเสียงในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติ 0.05 4) ลักษณะทางประชากรมีความสัมพันธ์กับการเปิดรับสื่อที่มีผลต่อการเลือกตั้งอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11376
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168411.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons