กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11385
ชื่อเรื่อง: ผลสัมฤทธิ์การบริหารงานของกรมเจ้าท่า
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Administrative achievement of Marine Department
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรณชัย บุตรทองดี, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: กรมเจ้าท่า--การบริหาร
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือ (1) เพื่อสำรวจระดับผลสัมฤทธิ์การบริหารงานของกรมเจ้าท่า (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การบริหารงานของกรมเจ้าท่า จำแนกปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับผลสัมฤทธิ์การบริหารงานของกรมเจ้าท่า (4) เสนอแนะแนวทางการบริหารและการเพิ่มระดับผลสัมฤทธิ์ของกรมเจ้าท่า การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ข้าราชการของกรมเจ้าท่า จำนวน 1,255 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างได้ 301 คน โดยคำนวณจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือการศึกษาที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถาม สถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล คือความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับผลสัมฤทธิ์การบริหารงานของกรมเจ้าท่าอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยส่วนบุคคลในความแตกต่างทางเพศ อายุ และการศึกษาไม่ส่งผลต่อระดับความคิดเห็นต่อผลสัมฤทธิ์ของการบริหารงานของกรมเจ้าท่าที่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอายุราชการและมีเงินเดือนแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อผลสัมฤทธิ์ของการบริหารงานของกรมเจ้าท่าที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยการบริหาร ประกอบด้วย ด้านการจัดการ ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร และด้านวัสดุ อุปกรณ์ มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์การบริหารงานของกรมเจ้าท่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (4) ข้อเสนอแนะ ทางการบริหารเชิงนโยบาย ทำแผนแผนยุทธศาสตร์เพื่อเปลี่ยนกลยุทธ์การทำงาน วางแผนกลยุทธ์การทำงานให้เชื่อมโยงข้ามหน่วยงาน การกระจายอำนาจความรับผิดชอบ มีการวางแผนการใช้งบประมาณ พัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคล จัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอ ทางการบริหารเชิงปฏิบัติประกอบด้วย การมีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์ในการทำงานโดยผู้ปฏิบัติงาน การมอบอำนาจการสั่งซื้อสั่งจ้างและการบริหารพัสดุ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน หางบประมาณจากแหล่งอื่นมาใช้ให้เพียงพอกับการปฏิบัติงาน เร่งบรรจุบุคลากรตำแหน่งที่ว่างและจ้างบุคคลภายนอกมาช่วยทำงานแทน มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ของเจ้าหน้าที่รุ่นเก่าสู่รุ่นใหม่ สร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมช่วยกันขับเคลื่อนภารกิจ มีการมอบรางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจและเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11385
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168662.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons