กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11387
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ที่ส่งผลต่อมาตรการบังคับใช้กฎหมายการค้ามนุษย์ในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems in law enforcement of Immigration Act B.E. 1979 affecting law enforcement measures of human trafficking in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวิภา เมืองถ้ำ
นัฐพล ชมศิริ, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: การค้ามนุษย์--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีอาชญากรรมคนเข้าเมือง (2) ศึกษากฎหมายคนเข้าเมืองเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ของต่างประเทศ และประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ที่ส่งผลกระทบต่อการกระทำความผิดการค้ามนุษย์ในประเทศไทย (4) เสนอแนวทางแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 สำหรับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นวิจัยจากเอกสารจากตำรา หนังสือ บทความทางวิชาการ และสิ่งตีพิมพ์อื่น ๆ เอกสารภายในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิด ทฤษฎีอาชญากรรมคนเข้าเมืองเป็นพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนจากสังคมและมีลักษณะที่เป็นอันตรายที่เกิดจากสังคมข้ามดินแดน (2) กฎหมายคนเข้าเมืองที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ของประเทศไทยไม่มีความสอดคล้องกับกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสิงคโปร์ ที่ไม่อนุญาตให้บุคคลที่กระทำความผิดการค้าประเวณีและบริการทางเพศ และการค้ามนุษย์เดินทางเข้าประเทศ รวมถึงให้ความสำคัญการดูแลผู้เสียหายหรือเหยื่อในคดีค้ามนุษย์ ในขณะที่ประเทศไทยไม่ได้บัญญัติกฎหมายไว้อย่างชัดเจน จึงเป็นอุปสรรคต่อบังคับใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ที่ส่งผลต่อการค้ามนุษย์ในประเทศไทย (3) พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ไม่ได้กำหนดลักษณะพฤติการณ์ต้องห้ามของคนต่างด้าวเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ อีกทั้งไม่ปรากฏการอนุญาตให้คนต่างด้าวที่เป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์มีสิทธิพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคดีการค้ามนุษย์ และปัญหาการกักตัวคนต่างด้าวที่เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ยังขาดความชัดเจนส่งผลกระทบให้การกักตัวที่เป็นการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน (4) ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 โดยเพิ่มมาตรา 12 (12) โดยบุคคลที่มีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าเข้ามาเพื่อการค้ามนุษย์ หรือมีพฤติการณ์เข้าข่ายการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ และบัญญัติมาตรา 35/1 ให้สิทธิแก่เหยื่อของการค้ามนุษย์ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และเพิ่มเติมมาตรา 54 วรรคท้าย "ในการกักตัวตัวคนต่างด้าวตามวรรคสาม สำหรับคนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ให้จัดสถานที่สำหรับการควบคุมไว้เป็นการเฉพาะ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน"
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11387
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168802.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons