กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11388
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการรอการลงโทษกับมาตรการทางเลือกแทนโทษจำคุก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems with suspended punishment and measures alternative to imprisonment
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพัตรา แผนวิชิต, อาจารย์ที่ปรึกษา
สิริพงศ์ สิริวรนาค, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: การรอลงอาญา--ไทย
มาตรการแทนการจำคุก
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษามาตรการการลงโทษอื่นแทนการลงโทษจำคุก (2) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี การลงโทษ หลักการของการกำหนดโทษให้เหมาะสมกับตัวบุคคลและการรอการลงโทษ (3) เพื่อศึกษามาตรการการลงโทษทางเลือกอื่นเปรียบเทียบกับกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส (4) เพื่อเสนอแนะแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ให้ศาลใช้ดุลพินิจ กำหนดมาตรการแทนการลงโทษจำคุกได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น การศึกษานี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้องและข้อมูลเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ตัวบทกฎหมาย กฎ ระเบียบ ตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัยคำพิพากษาศาลฎีกา กฎหมายต่างประเทศ โดยผู้วิจัยได้นำข้อมูลดังกล่าวมาประกอบวิเคราะห์กับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า (1) มาตรการการลงโทษอื่นแทนการลงโทษจำคุกของประเทศไทย คือการลงโทษกักขังแทนจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 23 การยกโทษจำคุกตาม มาตรา 55 การรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษ ตามมาตรา 56 และมาตรการแทนการพิพากษาในคดีที่เด็กหรือเยาวชนเป็นจำเลย ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 90 และมาตรา 132 (2) แนวคิดทฤษฎีที่ศึกษา ได้แก่ ทฤษฎีและวัตถุประสงค์การลงโทษ หลักการกำหนดโทษให้เหมาะสมเป็นรายบุคคลและได้สัดส่วน มาตรการลงโทษทางเลือกแทนโทษจำคุก และการรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษ (3) กฎหมายไทยยังไม่มีมาตรการทางเลือกแทนการลงโทษจำคุกโดยตรง แต่มีมาตรการคุมความประพฤติผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ซึ่งมีบัญญัติไว้เป็นแนวทางให้ศาลใช้ดุลพินิจในการกำหนดเงื่อนไขต่อผู้กระทำความผิดได้อย่างกว้างขวาง เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศพบว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศฝรั่งเศส ศาลสามารถนำมาตรการการลงโทษทางเลือกอื่นแทนการจำคุกได้โดยตรงโดยไม่ต้องอาศัยเงื่อนไขของคำพิพากษาให้รอการลงโทษเสียก่อนเหมือนกฎหมายไทย เป็นผลให้ศาลสามารถใช้ดุลพินิจกำหนดรูปแบบการลงโทษที่เหมาะสมเป็นรายบุคคลได้อย่างกว้างขวางมากกว่า (4) สมควรแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 โดยลบข้อจำกัดของเงื่อนไขในการกระทำความผิดในครั้งก่อนออก แล้วให้เป็นดุลพินิจศาลที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นบุคคลกระทำความผิด ติดนิสัยอันไม่สมควรรอการลงโทษหรือไม่ และแก้ไขพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 มาตรา 11 โดยลบข้อจำกัดของเงื่อนไขในการที่ศาลจะใช้อำนาจสั่งพนักงานคุมประพฤติให้ดำเนินการสืบเสาะและพินิจจำเลยได้ทุกคดี เพื่อประโยชน์ในการกำหนดโทษให้เหมาะสมเป็นรายบุคคลต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11388
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168803.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons