Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11390
Title: | แนวทางการแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวในคดีอาญา |
Other Titles: | Guidelines for appointing supervisors for temporary-released prisoners in criminal case |
Authors: | วรรณวิภา เมืองถ้ำ พงศกานต์ จาดสอน, 2537- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | การปล่อยชั่วคราว--ไทย การคุมประพฤติ--ไทย การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากฎหมาย ระเบียบ แนวคิด ทฤษฎี เอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องด้านการขอปล่อยชั่วคราวโดยมาตรการกำกับดูแลในชั้นปล่อยชั่วคราว การแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว (2) ศึกษากฎหมาย ระเบียบ แนวคิด ทฤษฎี ด้านการขอปล่อยชั่วคราวโดยมาตรการกำกับดูแลในชั้นปล่อยชั่วคราวเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ (3) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว (4) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุง แก้ไข ให้การแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสารทางกฎหมายว่าด้วยการแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว โดยศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎระเบียบ ตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย ตลอดจนกฎหมายต่างประเทศ โดยผู้วิจัยทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยและการทวบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเสนอแนะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวโดยการแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวผลจากการศึกษา (1) ตามแนวคิดและทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราว เมื่อผู้ใดได้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดต่อกฎหมายต้องได้รับตามกฎหมาย แต่ทว่าผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิด ผู้นั้นก็ต้องได้รับสิทธิเสรีภาพตามหลักสิทธิมนุษยชนย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนให้สิ้นข้องสงสัย (2) กฎหมายในประเทศไทยได้มีการกำหนดการปล่อยชั่วคราวไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้น ซึ่งการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยบางกรณีได้มีการใช้หลักทรัพย์เพื่อแลกมาซึ่งสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลย ทำให้เกิดความเลื่อมล้ำของคนจนและคนรวยในการได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพ ทำให้ผู้บริสุทธิ์ที่ไม่มีหลักทรัพย์ในการขอปล่อยชั่วคราวถูกกุมขังโดยไม่จำเป็น (3) การขอปล่อยชั่วคราวในต่างประเทศได้มีการปล่อยชั่วคราวที่แตกต่างกันไป โดยในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกาได้มีการกำหนดเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวแทนการใช้หลักทรัพย์ในการขอปล่อยชั่วคราวเพื่อลดความเลื่อมล้ำในการใช้หลักทรัพย์ในการขอปล่อยชั่วคราว แต่ในสหพันธรัฐเยอรมนีและประเทศฝรั่งเศสมีเพียงแค่การปล่อยชั่วคราวโดยใช้หลักประกันเป็นหลัก (4) การปล่อยชั่วคราวในประเทศไทย ได้มีการกำหนดเงื่อนไขในการขอปล่อยชั่วคราว เช่น การแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว เป็นต้น ซึ่งประเทศอังกฤษได้มีการกำหนดเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราว เช่น รายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สถานีตำรวจสัปดาห์ละครั้งหรือวันละครั้ง เป็นต้น และประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการกำหนดเงื่อนไขในการขอปล่อยชั่วคราว เช่น การกำกับดูแลหลังปล่อยชั่วคราวผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น (5) จากการศึกษาสมควรแก้ไขคุณสมบัติผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวเพื่อป้องกันการให้บุคคลใกล้ชิดที่อาจทำการช่วยเหลือรายงานพฤติกรรมได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพตลอดจนจัดทำคู่มือ แนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติได้ทราบวิธีการได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11390 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
168806.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License