กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11396
ชื่อเรื่อง: ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะบนฐานการโต้แย้งที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และความเข้าใจมโนทัศน์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of Argument-based Inquiry Instruction on scientific reasoning ability and the conceptual understanding of force and motion for grade 10 students in Assumption College Samut Prakarn
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดวงเดือน สุวรรณจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชนนท์สิทธิ ปิยศักดิ์เปรมสุข, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: วิทยาศาสตร์--กิจกรรมการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ไทย--สมุทรปราการ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะบนฐานการโต้แย้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (2) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะบนฐานการโต้แย้งกับกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (3) เปรียบเทียบความเข้าใจมโนทัศน์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะบนฐานการโต้แย้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ (4) เปรียบเทียบความเข้าใจมโนทัศน์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะบนฐานการโต้แย้งกับกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะบนฐานการโต้แย้งนักเรียนมีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะบนฐานการโต้แย้งมีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะบนฐานการโต้แย้งนักเรียนมีความเข้าใจมโนทัศน์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะบนฐานการโต้แย้งมีความเข้าใจมโนทัศน์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(วิทยาศาสตร์ศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11396
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons