Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11403
Title: | การสื่อสารอัตลักษณ์ของศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ด้านจิตรกรรม |
Other Titles: | Identity communication of National Artist in the painting category of Visual Arts |
Authors: | ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์ เชิด ด้วงไพรี, 2504- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วิทยาธร ท่อแก้ว สกนธ์ ภู่งามดี |
Keywords: | การสื่อสาร ศิลปินแห่งชาติ อัตลักษณ์ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การสื่อสารอัตลักษณ์บุคคล 2) การสื่อสารอัตลักษณ์ผลงานและ 3) การสื่อสารอัตลักษณ์ทางสังคมของศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ด้านจิตรกรรมผลการวิจัยพบว่า ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ด้านจิตรกรรม มี 1) การสื่อสารอัตลักษณ์ด้านบุคคลของตนเองดังนี้ (1.1) การเข้าถึงแก่นของงานอย่างลึกซึ้งและพัฒนาทักษะในการวาดภาพต่อเนื่อง (1.2) มีความเชื่อว่าศิลปะยกระดับจิตใจ รักศิลปะและชอบวาดภาพ (1.3) ศิลปินพูดหรือเขียนตามผลงานที่ทำ (1.4) ใช้น้ำเสียงเปล่งเป็นภาษาว่ารู้จริง (1.5) ศิลปินใช้มือแสดงท่าทาง (1.6) มีอารมณ์ละเอียดอ่อน สุนทรียะลึกซึ้ง ซ่อนอยู่ภายในจิตใจ (1.7) แต่งกายมีเอกลักษณ์ของตนเองตามความเชื่อ (1.8) ดำเนินชีวิต ด้วยการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 2) การสื่อสารอัตลักษณ์ผลงาน คือ (2.1) ผลงานไม่จำกัดขนาดวัสดุ และสี (2.2) การสื่อความหมายเป็นนามธรรม คือ แสดงความรู้สึกออกมาเป็นภาพสัญลักษณ์ที่พัฒนามาจากของจริง (2.3) ความคิดและการสร้างสรรค์ผลงานมาจากความเชื่อเรื่อง ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพุทธศาสนา (2.4) หลักการจัดภาพมีการแสวงหาตัวตนและออกนอกกรอบของทฤษฎี (2.5) รูปทรงในภาพมีการดัดแปลงจากธรรมชาติ และใช้รูปทรงเรขาคณิต (2.6) การระบายสีแบบผสมผสานทั้งการเกลี่ยเรียบและทิ้งร่องรอย การใช้โทนสีกำหนดจากเรื่องราว เนื้อหาและอารมณ์ 3) การสื่อสารอัตลักษณ์ทางสังคม คือ (3.1) การจัดทำเป็นหนังสือเล่มสิ่งพิมพ์เผยแพร่ การให้สัมภาษณ์ การบรรยาย ใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ สื่อป้ายโฆษณาหลากหลายทั้งรูปแบบและวัสดุ (3.2) กระบวนการแสดงผลงานที่สำคัญคือ การวางแผนด้านสถานที่ ภาพผลงานจิตรกรรมสูจิบัตร แสดงผลงานเดี่ยว 7-8 ครั้ง จำนวนผลงานแต่ละครั้ง 60-90 ผลงาน ไม่ได้ทำประชาสัมพันธ์เองกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ชมผลงานทุกคน ไม่มีการประเมินผลการแสดงผลงานอย่างเป็นทางการ หลังจากเป็นศิลปินแห่งชาติแล้วมีช่องทางการแสดงผลงานในสื่อออนไลน์เพิ่มมากขึ้น (3.3) การเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ด้านจิตรกรรม จะต้องมีการเสนอผลงานตามเกณฑ์การตัดสิน และการนำเสนอผลงานเพื่อเป็นศิลปินแห่งชาติโดยผู้อื่นเป็นหลัก และมีแนวโน้มที่จะนำเสนอผลงานได้ด้วยตนเอง โดยไม่มีเงื่อนไขของเพศ และอายุ มีการสื่อสารอัตลักษณ์จากผลงานจิตรกรรมที่ต้องสร้างสรรค์ ให้ผลงานสื่อสารตัวเอง มีบุคลิกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง มีการแสดงผลงานจิตรกรรมสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11403 |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
156501.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License