กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11404
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Communication competency development of chief executives of the Subdistrict Administration Organization in the three Southern Border Provinces of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิทยาธร ท่อแก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
โกวิทย์ พวงงาม, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิชาวดี ตานีเห็ง, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: การสื่อสารในองค์การ
การสื่อสารในการจัดการ
องค์การบริหารส่วนตำบล--ระบบสื่อสาร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้เกี่ยวกับ 1) รูปแบบการใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน 2) เปรียบเทียบรูปแบบการใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน 3) องค์ประกอบสมรรถนะทางการสื่อสารในการปฏิบัติงาน 4) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสาร ผลการวิจัยพบว่าการสื่อสารของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีดังนี้ 1) รูปแบบการใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงานมี 8 รูปแบบคือ (1) การสื่อสารเพื่อการบริหารองค์กร ได้แก่การมอบหมาย งาน การประชุม การกำกับติดตามงาน และการให้คำปรึกษา (2) การเปิดรับและแสวงหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการตัดสินใจ (3) การถ่ายทอดและประชาสัมพันธ์ข่าวสารไปสู่ประชาชนในชุมชน (4) การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการ ดำเนินพันธกิจขององค์กร (5) การสร้างความสัมพันธ์กับประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน (6) การสื่อสารเพื่อ บำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชน (7) การสื่อสารด้วยการสร้างผลงาน และ(8) การสื่อสารเพื่อรักษาฐานเสียงทางการเมือง 2) การเปรียบเทียบรูปแบบการใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงานประกอบด้วย ประสบการณ์ทางการบริหาร คุณวุฒิ การศึกษา การมีทัศนคติและความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารและการมีทักษะการสื่อสารเฉพาะบุคคล ส่งผลให้นายกองค์การ บริหารส่วนตำบลมีการใช้กลยุทธ์การสื่อสารที่แตกต่างกัน ซึ่งแบ่งเป็น 6 กลยุทธ์ คือ (1) กลยุทธ์รู้เขารู้เราเท่าทัน เทคโนโลยี (2) กลยุทธ์เข้าใจเข้าถึงพึ่งพาได้ 24 ชั่วโมง (3) กลยุทธ์สื่อสารคุณธรรมนำการพัฒนา (4) กลยุทธ์สื่อสารผสาน พลังทีมงาน (5) กลยุทธ์สื่อสารประสานสัมพันธ์ และ (6) กลยุทธ์สื่อสารสมานถันท์ชุมชน 3) องค์ประกอบสมรรถนะ ทางการสื่อสารมี 2 ประเภท คือ (1)สมรรถนะหลัก ได้แก่ การพูดและนำเสนอ การฟัง บุคลิกภาพ การสร้างความสัมพันธ์ กับกลุ่มเป้าหมาย การสร้างภาพลักษณ์ การสร้างช่องทางการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ และ (2) สมรรถนะเฉพาะเชิงพื้นที่ที่ปฏิบัติงาน ได้แก่ สมรรถนะการเป็นแบบอย่างผู้นำในวิถีอิสลามที่อิงแนวทางปฏิบัติตาม หลักศาสนาอิสลาม และสมรรถนะการสื่อสารในสังคมพหุวัฒนธรรมที่อิงแนวทางปฏิบัติตามแต่ละวัฒนธรรม 4) แนวทางการ พัฒนาสมรรถนะการสื่อสาร คือ (1) ด้านประเด็นเนื้อหาการพัฒนาสมรรถนะ ได้แก่ กลยุทธ์การสื่อสารและการ ประชาสัมพันธ์สำหรับผู้นำในงานองค์กรปกครองท้องถิ่นแบบครบวงจร การสื่อสารวิสัยทัศน์ นโขบายและผลการ ดำเนินงาน การพูดต่อหน้าสาธารณชน การสร้างภาพลักษณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพผู้นำท้องถิ่นยุคใหม่ การสื่อสารในภาวะ วิกฤติ และสื่อสารให้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล (2) ด้านรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ ได้แก่ ใช้การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การถอดบทเรียนความสำเร็จและการศึกษาดูงานองค์กรที่ผู้นำท้องถิ่นมีสมรรถนะ การสื่อสารระดับสูง
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11404
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
156508.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons