Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11404
Title: การพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Other Titles: Communication competency development of chief executives of the Subdistrict Administration Organization in the three Southern Border Provinces of Thailand
Authors: วิทยาธร ท่อแก้ว
โกวิทย์ พวงงาม
นิชาวดี ตานีเห็ง, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์
Keywords: การสื่อสารในองค์การ
การสื่อสารในการจัดการ
องค์การบริหารส่วนตำบล--ระบบสื่อสาร
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เกี่ยวกับ 1) รูปแบบการใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน 2) เปรียบเทียบรูปแบบการใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน 3) องค์ประกอบสมรรถนะทางการสื่อสารในการปฏิบัติงาน 4) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสาร ผลการวิจัยพบว่าการสื่อสารของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีดังนี้ 1) รูปแบบการใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงานมี 8 รูปแบบคือ (1) การสื่อสารเพื่อการบริหารองค์กร ได้แก่การมอบหมายงาน การประชุม การกำกับติดตามงาน และการให้คำปรึกษา (2) การเปิดรับและแสวงหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการตัดสินใจ (3) การถ่ายทอดและประชาสัมพันธ์ข่าวสารไปสู่ประชาชนในชุมชน (4) การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินพันธกิจขององค์กร (5) การสร้างความสัมพันธ์กับประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน (6) การสื่อสารเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชน (7) การสื่อสารด้วยการสร้างผลงาน และ(8) การสื่อสารเพื่อรักษาฐานเสียงทางการเมือง 2) การเปรียบเทียบรูปแบบการใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงานประกอบด้วยประสบการณ์ทางการบริหาร คุณวุฒิ การศึกษา การมีทัศนคติและความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารและการมีทักษะการสื่อสารเฉพาะบุคคล ส่งผลให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีการใช้กลยุทธ์การสื่อสารที่แตกต่างกัน ซึ่งแบ่งเป็น 6 กลยุทธ์ คือ (1) กลยุทธ์รู้เขารู้เราเท่าทันเทคโนโลยี (2) กลยุทธ์เข้าใจเข้าถึงพึ่งพาได้ 24 ชั่วโมง (3) กลยุทธ์สื่อสารคุณธรรมนำการพัฒนา (4) กลยุทธ์สื่อสารผสานพลังทีมงาน (5) กลยุทธ์สื่อสารประสานสัมพันธ์ และ (6) กลยุทธ์สื่อสารสมานถันท์ชุมชน 3) องค์ประกอบสมรรถนะทางการสื่อสารมี 2 ประเภท คือ (1)สมรรถนะหลัก ได้แก่ การพูดและนำเสนอ การฟังบุคลิกภาพ การสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย การสร้างภาพลักษณ์ การสร้างช่องทางการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ และ (2) สมรรถนะเฉพาะเชิงพื้นที่ที่ปฏิบัติงาน ได้แก่ สมรรถนะการเป็นแบบอย่างผู้นำในวิถีอิสลามที่อิงแนวทางปฏิบัติตาม หลักศาสนาอิสลาม และสมรรถนะการสื่อสารในสังคมพหุวัฒนธรรมที่อิงแนวทางปฏิบัติตามแต่ละวัฒนธรรม 4) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสาร คือ (1) ด้านประเด็นเนื้อหาการพัฒนาสมรรถนะ ได้แก่ กลยุทธ์การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์สำหรับผู้นำในงานองค์กรปกครองท้องถิ่นแบบครบวงจร การสื่อสารวิสัยทัศน์ นโขบายและผลการ ดำเนินงาน การพูดต่อหน้าสาธารณชน การสร้างภาพลักษณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพผู้นำท้องถิ่นยุคใหม่ การสื่อสารในภาวะวิกฤติ และสื่อสารให้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล (2) ด้านรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ ได้แก่ ใช้การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การถอดบทเรียนความสำเร็จและการศึกษาดูงานองค์กรที่ผู้นำท้องถิ่นมีสมรรถนะการสื่อสารระดับสูง
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11404
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
156508.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.41 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons