Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11410
Title: | รูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาของภาคีเครือข่ายของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในจังหวัดลพบุรี |
Other Titles: | A model of participation in educational provision administration among network partners of the District Non-formal and Informal education centres in Lopburi province |
Authors: | สุมาลี สังข์ศรี สุบิน ผลอนุรักษ์วงศ์, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปิยะพงษ์ ไสยโสภณ |
Keywords: | ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย--ลพบุรี การบริหารการศึกษา--ไทย--ลพบุรี การศึกษานอกระบบโรงเรียน--การบริหาร |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมในการบริหารการจัดการศึกษาของภาคีเครือข่ายของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดลพบุรี (2) ศึกษาความต้องการการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดลพบุรี และ (3) นำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารการจัดการศึกษาของภาคีเครือข่ายของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดลพบุรี ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาของภาคีเครือข่ายของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดลพบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดส่วนปัญหาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาของภาคีเครือข่าย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ปัญหาด้านการวางแผนจัดการศึกษา โดยเฉพาะปัญหาในการขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี (2) ความต้องการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาของภาคีเครือข่ายของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดลพบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรและด้านการจัดการเรียนรู้ และ (3) รูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารการจัดการศึกษาของภาคีเครือข่ายของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดลพบุรี ประกอบด้วย 5 ด้านคือ (1) ด้านการวางแผนจัดการศึกษา ได้แก่ ควรให้ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบายและเป้าหมายการจัดการศึกษา (2) ด้านการประสานงาน ได้แก่ กศน. ควรจัดประชุมปรึกษาหารือเพื่อหาแนวทางการประชาสัมพันธ์งานและการรับฟังความต้องการของประชาชน (3) ด้านการพัฒนาหลักสูตร ได้แก่ กศน. ควรให้ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนะการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาหรือหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง (4) ด้านการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การให้ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบ จัดทำแผนการจัดกิจกรรม และสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ(5) ด้านการนิเทศ ติดตามและประเมินผล ได้แก่ การให้ภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมในการนิเทศ ติดตามและประเมินผล และเผยแพร่ผลการดำเนินงาน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11410 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 38.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License