กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11419
ชื่อเรื่อง: การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Strategic management of the digital TV stations in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิยฉัตร ล้อมชวการ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กาญจนา โชคเหรียญสุขชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
นครินทร์ ชานะมัย, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: สถานีโทรทัศน์--ไทย--การบริหาร
โทรทัศน์ดิจิทัล--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การบริหาร 2) กลยุทธ์การบริหาร 3) เสนอรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยสภาพแวดล้อมมีทั้งปัจจัยภายนอกและภายในองค์กร ปัจจัยภายนอกที่ ส่งผลกระทบต่อกลยุทธ์การบริหารมากที่สุดได้แก่ การพัฒนาของเทคโนโลยีทั้งในด้านการออกอากาศ การนำเสนอ และเครื่องมือในการรับชม มีการแข่งขันและใช้งบลงทุนสูงเทคโนโลยีมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความ ผันผวนทางเศรษฐกิจและอัตราแลกเปลี่ยนส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังการวางแผนการใช้งบลงทุนขององค์กร คู่แข่ง สื่อออนไลน์ที่ใช้ต้นทุนต่ำ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อของผู้บริโภค เนื่องจากมีทางเลือกที่มากกว่า ส่วนปัจจัยภายในที่ ส่งผลกระทบต่อกลยุทธ์การบริหารมากที่สุดได้แก่ การตัดสินใจลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีการออกอากาศ การจัดการ เนื้อหาที่น่าสนใจตามกระแส สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การสรรหาบุคลากรความสามารถสูงเข้ามา ทำงาน โครงสร้างและนโยบายขององค์กรที่ต้องปรับตัวให้รับมือกับสภาพแวดล้อมภายนอก 2) กลยุทธ์การบริหาร สถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ใช้การสื่อสารการตลาดบูรณาการ โดยใช้กลยุทธ์การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อ ตอบสนองความต้องการและเร่งสร้างความนิยมสูงสุดผ่านสื่อโทรทัศน์ ด้วยการแข่งขันผลิตเนื้อหาแปลกใหม่ให้ ถูกใจผู้บริโภค โครงสร้างการบริหารเรียงลำดับชั้นตามสายงาน 3) รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ ใช้การบูรณาการ กลยุทธ์หลักเพื่อแก้ปัญหาองค์รวมด้วยการปรับโครงสร้างการบริหารเป็นแนวระนาบให้คล่องตัวและได้เปรียบใน การแข่งขัน ปรับตำแหน่งทางการตลาดเป็นผู้ให้บริการเนื้อหา เพื่อหารายได้เพิ่มจากผู้บริโภคทุกกลุ่ม ประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีที่มีอยู่ เพื่อสร้างเนื้อหาที่แปลกใหม่ ลดค่าใช้จ่ายโดยใช้บุคลากรที่มีศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์สูง สร้างเนื้อหาที่มีมูลค่าเป็นเอกลักษณ์จดจำและสร้างกระแสได้ดี ใช้การสื่อสารการตลาดดิจิทัล เพื่อตอกย้ำผู้บริโภค ให้ครอบคลุมกว่าเดิม ทั้งในฐานการนำเสนอแบบออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อเพิ่มอัตราความนิยม ส่วนแบ่งทาง การตลาดและรายได้ให้สูงขึ้น
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11419
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
157063.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons