กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11423
ชื่อเรื่อง: การสื่อสารเพื่อสร้างความนิยมของผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Communication to build popularity of local politicians
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุภาภรณ์ ศรีดี
สิงห์ สิงห์ขจร, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วิทยาธร ท่อแก้ว
กานต์ บุญศิริ
คำสำคัญ: การสื่อสาร--แง่จิตวิทยา
ผู้นำทางการเมือง--การสื่อสาร--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อสร้างความนิยมของผู้นำทางการเมืองท้องถินเกี่ยวกับ 1) ลักษณะของผู้นำ 2) กระบวนการสื่อสาร 3) กลยุทธ์การสื่อสาร 4) แนวทางการพัฒนาการสื่อสาร ผลการวิจัยการสื่อสารเพื่อสร้างความนิยมของผู้นำทางการเมืองท้องถื่น พบว่า 1) ลักษณะของผู้นำทางการเมืองท้องถิ่นต้องเป็นผู้ที่มีประวัติที่มีการช่วยเหลืองานสาธารณะมาอย่างต่อเนื่อง มีความน่าเชื่อถือ แต่งกายเหมาะสม มีความคิดเชิงการพัฒนา พูดจริงทำจริง พูดคุยสนุกสนาน มีความเป็นกันเอง มีทักษะการสื่อสารที่ดี สนใจรับฟังเรื่องราวปัญหาของประชาชน 2) กระบวนการสื่อสาร (1) วางแผนการสื่อสารทุกกิจกรรม โดยการประชุมกลุ่มเครือข่ายต่าง ๆ มาร่วมกำหนดแผนการสื่อสาร กำหนดทีมผู้ส่งสารต้องมีความน่าเชื่อถือ กำหนดสารที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนและใช้ภาษาท้องถิ่น สั้น เข้าใจง่าย ใช้สื่อบุคคลเป็นหลัก และใช้ป้ายเป็นสื่อเสริม เน้นข่าวสารที่เข้าถึงประชาชนกำหนดผู้รับสารมีการแบ่งกลุ่มผู้รับสารตามพื้นที่ (2) การดำเนินการสื่อสาร มีการจัดโครงสร้างองค์กร จัดการทรัพยากรแบบกระจายให้แต่ละพื้นที่เท่าๆกัน ปฏิบัติการสื่อสารเน้นการสื่อสารที่เข้าถึงประชาชน การอำนวยการและการประสานงานผ่านทางโทรศัพท์มือถือเป็นหลัก ติดตามและควบคุมโดยผู้นำทางการเมืองท้องถิ่นและสมาชิกแกนนำเครือข่ายต่าง ๆ (3) การประเมินการรับรู้ โดยการสังเกตพฤติกรรมการตอบรับ ประเมินผ่านเครือข่ายหลังจากลงพื้นที่พบปะประชาชน การประเมินกิจกรรมดูจากจำนวนของประชาชนที่เข้าร่วม และประเมินความพึงพอใจหลังกิจกรรม 3) กลยุทธ์การสื่อสาร คือ (1) การสร้างเครือข่ายมีการลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับกลุ่มเครือข่ายต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องให้รู้สึกใกล้ชิด (2) การสร้างความสัมพันธ์โดยเน้นการเป็นพี่เป็นน้องและเป็นคนบ้านเดียวกันต้องดูแลซึ่งกันและกัน (3) การสร้างกิจกรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เน้นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของชุมชน (4) การสร้างการรับรู้เกี่ยวกับผลงานอย่างต่อเนื่อง 4) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อสร้างความนิยมของผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น คือ (1) การพัฒนาคุณลักษณะการสื่อสารของผู้นำการเมืองท้องถิ่น โดยผู้นำต้องเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองด้านทักษะการพูดจริงทำจริง การพูดคุยแบบสั้นกระชับเข้าใจง่าย การพูดให้สนุกสนานและมีสาระ สร้างและขยายความสัมพันธ์ของเครือข่ายกลุ่มต่างๆ ผ่านกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการรับรู้ผลงานของผู้นำทางการเมืองท้องถึน (2) การพัฒนาการจัดการการสื่อสาร ผู้นำต้องเรียนรู้การวางแผน การดำเนินการสื่อสารในทุกกิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน โดยใช้สื่อบุคคลเป็นหลัก และสื่ออื่นๆเสริมมีความต่อเนื่องในการสื่อสาร นำการประเมินผลมาปรับปรุงการจัดการการสื่อสารให้ดีขึ้น
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11423
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
157087.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons