กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11424
ชื่อเรื่อง: นโยบายและยุทธศาสตร์การรณรงค์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Policies and strategies in the campaign to prevent and solve the problem of teen pregnancy in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุภาภรณ์ ศรีดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยาธร ท่อแก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิษฐา หรุ่นเกษม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐฐิญา พัวรุ่งโรจน์, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ครรภ์ในวัยรุ่น--การป้องกัน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรณรงค์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของประเทศไทยเกี่ยวกับ 1) สถานการณ์ สภาพปัญหาของนโยบายและยุทธศาสตร์ 2) ยุทธศาสตร์ 3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ผลการวิจัย พบว่า 1) สถานการณ์ด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการดำเนินการตามพระราชบัญญัติและยุทธศาสตร์ระดับชาติและตามพันธกิจของหน่วยงาน ผู้กำหนดนโยบายระดับหน่วยงาน คือ ผู้บริหารนำลงสู่การปฏิบัติตามสายงาน มีการใช้สื่อรณรงค์ที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายในตัวเมือง แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายในระดับชุมชน ปัญหาด้านนโยบาย คือ พระราชบัญญัติไม่มีการกำหนดแนวทางนโยบายด้านการสื่อสาร ปัญหาด้านยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ระดับชาติไม่ได้กำหนดแผนปฏิบัติงานด้าน การสื่อสารและระบุหน่วยงานที่รับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน ส่งผลให้ระดับหน่วยงานในระดับปฏิบัติขาดทิศทางในการกำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านการสื่อสาร นอกจากนี้ยังพบปัญหา ด้านเจ้าหน้าที่ในระดับจังหวัดยังขาดทักษะและประสบการณ์ในการสื่อสารและกรบวนการการรณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักรู้ถึงปัญหา 2) ยุทธศาสตร์ด้านการสื่อสารรณรงค์ไม่ได้ถูกกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบมีเพียงยุทธศาสตร์การดำเนินงานภายใต้กรอบนโยบายยุทธศาสตร์ระดับชาติและระดับหน่วยงาน และมีการประเมินผลการดำเนินงานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยยึดการวัดผลประเมินจากสถิติการตั้งครรภ์ ใช้กลยุทธ์การสร้างความร่วมมือ ระหว่างผู้ปฏิบัติงานในรูปแบบภาคีเครือข่ายทั้งระดับประเทศและระดับจังหวัด และใช้กลยุทธ์การสร้าง การรับรู้และสร้าง ความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นเนื้อหาด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ใช้การฝึกอบรมเป็นกิจกรรมหลักและใช้ สื่อมวลชน สื่อสังคมออนไลน์เป็นสื่อเสริมแต่ยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะในระดับจังหวัดและชุมชนที่สื่อพื้นบ้าน มีบทบาทสำคัญต่อการรับรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ รัฐบาลควรเพิ่มนโยบายด้านการสื่อสารในพระราชบัญญัติและยุทธศาสตร์ระดับชาติและร่วมกับองค์กรภาครัฐด้านการสื่อสารในการกำหนดทิศทางการสื่อสารในการแก้ไขปัญหา หน่วยงานที่รับผิดชอบหลักและหน่วยงานเครือข่ายทุกระดับควรร่วมกันกำหนดแผนพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารของเจ้าหน้าที่ที่ทำการรณรงค์อย่างเป็นระบบ ส่วนข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ คือ หน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานเครือข่ายควรร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์และวางแผนการปฏิบัติงานรณรงค์ทั้งในระดับส่วนกลาง ระดับจังหวัดและระดับชุมชนด้วยกลยุทธ์ การสร้างความเข้าใจ การรับรู้ โดยเน้นกิจกรรมการฝึกอบรมกับกลุ่มเสี่ยง และใช้สื่อมวลชน สื่อสังคมออนไลน์สื่อพื้นบ้านผสมผสานให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายในทุกระดับ
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขท้ยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11424
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
157120.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons