Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11430
Title: | การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 |
Other Titles: | Appeal of administrative orders under the Public Health Act, B.E. 2535 (1992) |
Authors: | กมลชัย รัตนสกาววงศ์ วรินพร พันธนียะ, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 อุทธรณ์ การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและหลักกฎหมายเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองและการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองตามกฎหมายของประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนีและของไทย (2) ศึกษาแนวคิดและหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 โดยเฉพาะการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 (4) เสนอแนะแนวทาง การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ได้แก่ ตัวบทกฎหมาย ตำรา เอกสารวิชาการ บทความ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอแนวทางการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายต่อไป ผลการศึกษาพบปัญหาว่า (1) ตามแนวคิดเรื่องคำสั่งทางปกครองเป็นเครื่องมือของฝ่ายปกครองที่ใช้ในการกำกับดูแลกิจการของเอกชนซึ่งต้องกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายและสามารถตรวจสอบได้ เช่น โดยการอุทธรณ์ไปยังองค์กรพิจารณาอุทธรณ์ หลักการนี้สอดคล้องกันทั้งของไทยและต่างประเทศ เช่น ฝรั่งเศส และเยอรมนี (2) แนวคิดและหลักการของพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายของราชการส่วนกลางเพื่อกำกับดูแลด้านการสาธารณสุข สุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม และมอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายโดยเจ้าพนักงานท้องถิ่นสามารถออกคำสั่งทางปกครองเพื่ออนุญาต พักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตการดำเนินกิจการของเอกชนได้ หากผู้รับคำสั่งไม่พอใจก็สามารถอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ (3) จากการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พบว่ามีคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพียงชุดเดียวอยู่ในส่วนกลางเนื่องจากเป็นกฎหมายของราชการส่วนกลาง มีเจตนารมณ์ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการสาธารณสุขและเป็นการสร้างมาตรฐานในการบังคับใช้กฎหมาย แต่อย่างไรก็ดีปัจจุบันมีเรื่องอุทธรณ์เพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีกลไกช่วยเหลือในการพิจารณาอุทธรณ์ ของคณะกรรมการดังกล่าว (4) ผู้ศึกษาขอเสนอแนะให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยเหลือในการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในลักษณะที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะกำหนดให้คณะอนุกรรมการคณะใดปฏิบัติการตามที่มอบหมาย แล้วเสนอคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพื่อพิจารณาหรือเพื่อทราบ แล้วแต่กรณีก็ได้ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระเรื่องที่ไม่ซับซ้อนให้อาจยุติลงได้ในชั้นคณะอนุกรรมการซึ่งจะทำให้การพิจารณารวดเร็วยิ่งขึ้น. |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11430 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
168801.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 21.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License