กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11448
ชื่อเรื่อง: การปฏิบัติงานส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดินของหมอดินอาสาประจำหมู่บ้านในจังหวัดบึงกาฬ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Operation of extension in land development technology by sub-district soil improvement volunteer in Bueng Kan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิยวรรณ เขิมขันธ์, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: การพัฒนาที่ดิน--ไทย--บึงกาฬ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน 2) การปฏิบัติงานส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดินของหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน 3) ความต้องการได้รับการส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดินของหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของหมอดินอาสาประจำหมู่บ้านราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า 1) หมอดินอาสาประจำหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 56.41 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือสูงกว่า สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.10 คน พื้นที่ทำการเกษตรเป็นของตัวเองเฉลี่ย23.50 ไร่ แรงงานภาคการเกษตรในครอบครัวเฉลี่ย 2.77 คน ส่วนใหญ่สมัครเข้ามาเป็นหมอดินอาสาประจำหมู่บ้านเอง ระยะเวลาการเข้าร่วมเป็นหมอดินอาสาประจำหมู่บ้านเฉลี่ย 10.01 ปี และสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เข้ามาเป็นหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน โดยต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องดินในพื้นที่ของตนเอง 2)หมอดินอาสาประจำหมู่บ้านทั้งหมดมีการปฏิบัติงานการส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดินมากที่สุด คือด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ การฟื้นฟูปรับปรุงบำรุงดินเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และสามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างยั่งยืน รองลงมาคือด้านการพัฒนาองค์กรเพื่อให้เป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านการพัฒนาที่ดิน และมีการปฏิบัติงานน้อยที่สุด คือการรายงานทางโทรศัพท์ให้เจ้าหน้าที่ได้ทราบ 3) หมอดินอาสาประจำหมู่บ้านมีความต้องการในการส่งเสริมงานด้านการพัฒนาที่ดินในระดับมาก คือ เอกสารหรือสิ่งพิมพ์เผยแพร่ รองลงมา คือการศึกษาดูงานนอกสถานที่ และที่ต้องการน้อยที่สุด คือ การติดต่ออย่างไม่เป็นทางการ และ 4) หมอดินอาสาประจำหมู่บ้านส่วนใหญ่มีปัญหาในการปฏิบัติงานการส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดินอยู่ในระดับน้อย ในด้านปัจจัยการผลิตมีไม่เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร และมีข้อเสนอแนะให้เพิ่มปัจจัยผลิตทางการเกษตร ได้แก่ แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน และกากน้ำตาล
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11448
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159311.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons