กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11458
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาในการจ่ายค่าตอบแทน ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่ผู้เกี่ยวข้องในคดีอาญาตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Compensation problems payment replacements and expenses to those involved in criminal cases according to Damage injures for the injured persons and compensation and expenses for the accused in criminal cases Act B.E. 2544 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปัณณวิช ทัพภวิมล รักษณาลี มีจันทร์, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 ผู้เสียหาย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ ค่าทดแทน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษา แนวคิด ทฤษฎี และความเป็นมาของการจ่ายค่าตอบแทน และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีอาญา (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีอาญา (3) ศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศและประเทศไทยในการเยียวยาการจ่ายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา (4) เสนอแนวทาง มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทน ค่าทดแทน ค่าใช้จ่ายแก่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่เป็นการคุ้มครองผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสาร โดยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฎหมายของประเทศไทย กฎหมายของต่างประเทศ และระหว่างประเทศ โดยใช้เครื่องมือวิจัยเชิงเอกสาร วิเคราะห์ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อหาข้อสรุปให้ได้แนวทางและข้อเสนอแนะตลอดจนมาตรการในการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงกฎหมายให้เกิดความเหมาะสม ผลการศึกษาพบว่า (1) บทบัญญัติของกฎหมายกำหนดให้มีการจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา (2) บทบัญญัติของกฎหมายไม่ได้กำหนดเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนความเสียหายในด้านจิตใจของผู้เสียหายไว้อย่างชัดเจน และไม่ได้กำหนดการจ่ายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่ผู้ต้องหาในคดีอาญา (3) เมื่อเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีกับประเทศไทยแล้วพบว่า บุคคลที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนและค่าทดแทน กระบวนการเกี่ยวกับการขอใช้สิทธินั้นมีการกำหนดที่ชัดเจนกว่าของประเทศไทย และ (4) เสนอแนะให้มีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทน ค่าทดแทน ค่าใช้จ่ายแก่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหาหรือจำเลยให้มีความชัดเจนมากขึ้นเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ที่ได้รับผลกระทบในคดีอาญา |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11458 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
168792.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.6 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License