กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11463
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาหลักสูตรสู่ประชาคมอาเซียนโดยใช้กระบวนการภาคีเครือข่าย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of a curriculum toward the ASEAN community with the use of partnership process for Mathayom Suksa III students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดรุณี จำปาทอง
วนิจช์ตา โชติวิศิษฐ์กุล, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุวรรณี ยหะกร
สิริวรรณ ศรีพหล
คำสำคัญ: ประชาคมอาเซียน
การศึกษาขั้นมัธยม--ไทย--หลักสูตร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) พัฒนาหลักสูตรสู่ประชาคมอาเซียนโดยใช้กระบวนการภาคีเครือข่ายสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ (2) ศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรสู่ประชาคมอาเซียนโดยใช้กระบวนการภาคีเครือข่ายสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) การพัฒนาหลักสูตรสู่ประชาคมอาเซียนโดยใช้กระบวนการภาคีเครือข่าย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีองค์ประกอบ 7 ประการ คือ (1) ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร (2) คำอธิบายรายวิชา(3) ผลการเรียนรู้ (4) โครงสร้างหลักสูตร (5) กระบวนการจัดการเรียนรู้ (6) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ(7) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรโดยใช้กระบวนการภาคีเครือข่ายมี 5 ขั้นตอน คือ (1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน (2) การจัดสาระและประสบการณ์การเรียนรู้ (3) การทดลองใช้หลักสูตร (4) การนำหลักสูตรไปใช้ และ (5) การสรุปผลการใช้หลักสูตรและการปรับปรุงหลักสูตร ลักษณะของหลักสูตรเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับความหลากหลายทางพหุวัฒนธรรมซึ้งนักเรียนส่วนใหญ่เป็นบุตรหลานของแรงงานต่างชาติ จึงตอบสนองความสนใจและต้องการของผู้เรียน ท้องถิ่นและชุมชน 2) ผลการศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรสู่ประชาคมอาเซียนโดยใช้กระบวนการภาคีเครือข่ายสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า (1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) นักเรียนมีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นในระดับมากที่สุดและ (3) นักเรียนมีเจตคติการตระหนักรู้คุณค่าความเป็นไทยและความเป็นอาเซียนในระดับมาก
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11463
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159480.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons