Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11471
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เพชรผ่อง มยูขโชติ | th_TH |
dc.contributor.author | เยาวนา สิทธิเชนทร์, 2506- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-02-14T08:00:52Z | - |
dc.date.available | 2024-02-14T08:00:52Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11471 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอน ทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ เรื่อง งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าว (3) ศึกษาทักษะปฏิบัติงานของนักเรียน และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลสงขลา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 จำนวน 33 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของแอร์โรว์ เรื่อง งานประดิษฐ์ จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2) แผนการจัดการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (4) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงานของ นักเรียน และ (5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์ โรว์ เรื่อง งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ชุดที่ 1 ของใช้พาเพลิน ชุดที่ 2 สนุกกับของเล่น แต่ละชุด ประกอบด้วย คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม และสื่อ (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังจาก ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ทักษะปฏิบัติงานของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวอยู่ในระดับดี และ (4) นักเรียนมีความพึง พอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวในระดับมากที่สุด | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | การประดิษฐ์ด้วยเศษวัสดุ --การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) | th_TH |
dc.subject | กิจกรรมการเรียนการสอน | th_TH |
dc.title | การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฎิบัติของแฮร์โรว์ เรื่องงานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 | th_TH |
dc.title.alternative | Development of learning activities package based on Harrow’s instructional model for psychomotor domain on invention from recyclable waste materials in the Career and Technology Learning Area for Prathom Suksa III students in Schools under Songkhla Primary Education Service Area Office 1 | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were as follows: (1) to develop learning activities packages based on Harrow’s instructional model for psychomotor domain on Invention from Recyclable Waste Materials in the Career and Technology Learning Area for Prathom Suksa III students; (2) to compare learning achievement scores of the students before and after learning from the learning activities packages; (3) to study the students’ practicing skill; and (4) to study the satisfaction of the students with the learning activities packages based on Harrow’s instructional model. The research sample consisted of 33 Prathom Suksa III students at Anuban Songkhla School under Songkhla Primary Education Service Area Office 1, obtained by cluster random sampling. The research instruments used were (1) learning activities packages based on Harrow’s instructional model for psychomotor domain on Invention from Recyclable Waste Materials in the Career and Technology Learning Area for Prathom Suksa III students; (2) learning management plans; (3) a learning achievement test; (4) an evaluation form for practicing skill assessment; and (5) a questionnaire on student’s satisfaction with the learning activities packages. Statistics used to analyze the data included the mean, standard deviation, and t-test. The research results showed that (1) the developed learning activities packages based on Harrow’s instructional model for psychomotor domain on Invention from Recyclable Waste Materials in the Career and Technology Learning Area for Prathom Suksa III students included Learning Activities Package 1: Enjoyable Utensils, and Learning Activities Package 2: Having Fun with Toys; each learning activities package comprised the teacher’s manual, learning management plans, activity sheets, and learning media; (2) the post-learning achievement scores of the students after learning from the learning activities packages were significantly higher than their pre-learning counterpart scores at the .05 level of statistical significance; (3) the practicing skill of the students who learned from the learning activities packages was at the good level; and (4) the students were satisfied with the learning activities packages at the highest level | en_US |
dc.contributor.coadvisor | จรีลักษณ์ รัตนาพันธ์ | th_TH |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
159629.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License