กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11478
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบการฝึกอบรมทางไกลอิงสมรรถนะด้านเทคนิคทางยุทธวิธีสำหรับหัวหน้างานป้องกันปราบปรามของสถานีตำรวจสังกัดตำรวจภูธรภาค 5
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of a competency-based distance training system in tactical techniques for chief police officers of Suppression Section in police stations, Provincial Police Region 5
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุมาลี สังข์ศรี
วีระวุธ ชัยชนะมงคล, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สารีพันธุ์ ศุภวรรณ
วีรพล กุลบุตร, 2504-
คำสำคัญ: ตำรวจ--การฝึกอบรม
ตำรวจ--การฝึกอบรมในงาน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการระบบการฝึกอบรมทางไกลอิงสมรรถนะด้านเทคนิคทางยุทธวิธีสำหรับหัวหน้างานป้องกันปราบปรามของสถานีตำรวจสังกัดตำรวจภูธร ภาค 5 พัฒนาระบบการฝึกอบรมทางไกลอิงสมรรถนะด้านเทคนิคทางยุทธวิธิสำหรับหัวหน้างานป้องกันปราบปรามของสถานีตำรวจสังกัดตำรวจภูธรภาค 5 และ 3) ทดลองใช้และประเมินผลการใช้ระบบการฝึกอบรมทางไกลอิงสมรรถนะด้านเทคนิคทางยุทธวิธีสำหรับหัวหน้างานป้องกันปราบปรามของสถานีตำรวจสังกัดตำรวจภูธรภาค 5 การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการฝึกอบรมและความต้องการระบบการฝึกอบรมทางไกลอิงสมรรถนะด้านเทคนิคทางยุทธวิธี กลุ่มตัวยย่าง คือ หัวหน้างานป้องกันปราบปรามของสถานีตำรวจใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนจำนวน 300 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และเลือกแบบเจาะจงหัวหน้าหน่วยงานตำรวจจำนวน 20 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.8443 และ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 พัฒนาระบบการฝึกอบรมทางไกล ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ 9 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ ประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จากนั้นนำข้อมูลภาคสนามมาสังเคราะห์ร่วมกับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องสร้างเป็นระบบการฝึกอบรมทางไกล แล้วนำไปพดสอบประสิทธิภาพแบบ 1:1 และแบบ 1:10 และนำเสนอผู้เชี่ยวชาญ 5 คน เพื่อรับรองระบบฯ และ ระยะที่ 3 ทดลองใช้ระบบฯ กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 32 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบการฝึกอบรมทางไกลฯ 2) แบบทดสอบสมรรถนะด้านเทคนิคทางยุทธวิธี และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อระบบ สถิติีที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเคลี่ย ส่วนเนียงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที่ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) สภาพปัจจุบัน ยังไม่มีการจัดการศึกอบรมทางไกลอิงสมรรถนะด้านเทคนิคทางยุทธวิธีให้กับหัวหน้างานป้องกันปราบปรามของสถานีตำรวจ ปัญหาหลักในการฝึกอบรม คือ การขาดการศึกษาความต้องการของผู้เข้ารับการฝึกอบรม และหัวหน้างานป้องกันปราบปรามของสถานีตำรวจมีความต้องการให้มีระบบการฝึกอบรมทางไกลอิงสมรรถนะด้านเทคนิคทางยุทธวิธีในระดับมาก 2) ระบบการฝึกอบรมทางไกลฯ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยระบบย่อย 7 ระบบ คือ (2.1) ระบบพัฒนาหลักสูตร (2.2) ระบบผลิตชุดฝึกอบรม (2.1) ระบบจัดการการฝึก (2.4) ระบบคำเนินการฝึก (2.5) ระบบกำกับควบคุมการฝึก (2.6) ระบบบริการการฝึก และ (2.7) ระบบประเมินผลการฝึกโดยมีองค์ประกอบ ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ เนื้อหาหลักสูตรอิงสมรรถนะจากระบบพัฒนาหลักสูตร ชุดฝึกอบรมเแบบสื่อประสมจากระบบผลิตชุดฝึกอบรม ผู้จัดการฝึก ครูฝึก และผู้เข้ารับการฝึกงากระบบจัดการการฝึก และการให้ข้อมูลและอุปกรณ์การฝึกจากระบบบริการการฝึก ด้านกระบวนการ ได้แก่ การฝึกด้วยตนเองโดยใช้สื่อโสตทัศน์เป็นสื่อหลัก การฝึกผ่านระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ และการฝึกอบรมโดยครูฝึกจากระบบตำเนินการฝึก และการทำกับควบคุมการฝึกอบรมโดยหัวหน้าสถานีตำรวจจากระบบกำกับควบคุมการฝึก และด้านผลลัพธ์ ได้แก่ ผลการประเมินสมรรถนะจากระบบประเมินผลการฝึก และ 3) ผลการประเมิน พบว่า ระบบมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีสมรรถนะหลังการฝึกอบรมตามระบบสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 และมีความพึงพอใจต่อระบนการฝึกอบรมในระดับมาก
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ศษ.ด. (ศึกษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11478
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_160901.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons