Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11479
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัตนา ดวงแก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorเก็จกนก เอื้อวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวราลักษณ์ สนิท, 2515--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-02-15T03:57:36Z-
dc.date.available2024-02-15T03:57:36Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11479-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 (2) ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของผู้บริหารสถานศึกษา (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของผู้บริหารสถานศึกษา และ (4) ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 338 คน จากสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลสมรรถนะองค์กร การส่งเสริมสนับสนุนด้านทรัพยากร คุณภาพนโยบาย ความร่วมมือของเครือข่ายสถานศึกษา และประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ซึ่งมีคำความเที่ยงเท่ากับ .94, .96, .96, .95 และ .98 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ปัจจัยคัดสรรในภาพรวมและทุกปัจจัยอยู่ในระดับมาก (2) ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ในภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก (3) ปัจจัยคัดสรรทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และ (4) ปัจจัยที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของผู้บริหารสถานศึกษามีสามปัจจัย เรียงตามลำดับ ได้แก่ สมรรถนะองค์กร ความร่วมมือของเครือข่ายสถานศึกษา และการส่งเสริมสนับสนุนด้านทรัพยากร โดยทั้ง 3 ปัจจัยร่วมกันทำนายประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ได้ร้อยละ 83th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectนโยบายการศึกษาth_TH
dc.subjectการบริหารการศึกษาth_TH
dc.titleปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3th_TH
dc.title.alternativeSelected factors affecting the efficiency of academic affair administration based on the Teach Less, Learn More policy of school administrators under the Secondary Education Service Area Office 3en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were (1) to study the selected factors related to the efficiency of academic affairs administration based on the Teach Less, Learn More (TLLM) policy of school administrators under the Secondary Education Service Area Office 3; (2) to study the efficiency of academic affairs administration based on the TLLM policy of the school administrators; (3) to determine the relationship between the selected factors and the efficiency of academic affairs administration based on the TLLM policy of the school administrators; and (4) to study the selected factors affecting the efficiency of academic affairs administration based on the TLLM policy of the school administrators. The sample consisted of 338 teachers from secondary schools under the Secondary Education Service Area Office 3, all of whom were obtained by stratified random sampling. The employed research instrument was a rating scale questionnaire dealing with data on organizational competency, resources promoting and supporting, policy quality, cooperation of school networks, and the efficiency of academic affairs administration based on the TLLM policy, with reliability coefficients of .94, .96, .96, .95 and .98, respectively. The statistics used for data analysis were the frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson's product-moment correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis. The research findings were as follows: (1) the overall and by-dimension selected factors were rated at the high level; (2) the overall and by-dimension components of efficiency of academic affairs administration based on the TLLM policy were rated at the high level; (3) all selected factors positively correlated with the efficiency of academic affairs administration based on the TLLM policy; and (4) the three selected factors significantly affecting the efficiency of academic affairs administration based on the TLLM policy were organizational competency, cooperation of school networks, and resources promoting and supporting, respectively, which altogether could explain the variance of efficiency of academic affairs administration based on the TLLM policy by 83 percent.en_US
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
161692.pdfเอกสารฉบับเต็ม94.35 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons