กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11479
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Selected factors affecting the efficiency of academic affair administration based on the Teach Less, Learn More policy of school administrators under the Secondary Education Service Area Office 3
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัตนา ดวงแก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษา
เก็จกนก เอื้อวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วราลักษณ์ สนิท, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: นโยบายการศึกษา
การบริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 (2) ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของผู้บริหารสถานศึกษา (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของผู้บริหารสถานศึกษา และ (4) ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 338 คน จากสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลสมรรถนะองค์กร การส่งเสริมสนับสนุนด้านทรัพยากร คุณภาพนโยบาย ความร่วมมือของเครือข่ายสถานศึกษา และประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ซึ่งมีคำความเที่ยงเท่ากับ .94, .96, .96, .95 และ .98 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ปัจจัยคัดสรรในภาพรวมและทุกปัจจัยอยู่ในระดับมาก (2) ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ในภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก (3) ปัจจัยคัดสรรทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และ (4) ปัจจัยที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของผู้บริหารสถานศึกษามีสามปัจจัย เรียงตามลำดับ ได้แก่ สมรรถนะองค์กร ความร่วมมือของเครือข่ายสถานศึกษา และการส่งเสริมสนับสนุนด้านทรัพยากร โดยทั้ง 3 ปัจจัยร่วมกันทำนายประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ได้ร้อยละ 83
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11479
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
161692.pdfเอกสารฉบับเต็ม94.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons