กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11480
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลต่อความรู้ความสามารถในการดูแลและการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้สูงอายุที่ผ่าตัดกระดูกสะโพกหัก โรงพยาบาลสตูล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of caregivers empowerment program on knowledge, caring capabilities and postoperative recovery in older patients undergoing hip fracture, Satun Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เรณุการ์ ทองคำรอด, อาจารย์ที่ปรึกษา บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา นัยนา ธัญธาดาพันธ์, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | ผู้ดูแลผู้สูงอายุ--ไทย--สตูล ผู้สูงอายุ--การดูแล การพยาบาลผู้สูงอายุ การดูแลหลังศัลยกรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสะโพกหักต่อความรู้ของผู้ดูแล 2) ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสะโพกหักต่อความสามารถในการดูแลของผู้ดูแล และ 3) ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลต่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้สูงอายุก่อนและหลังได้รับโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างได้รับการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุผ่าตัดกระดูกสะโพก จำนวน 30 คน และ 2) กลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสะโพกในโรงพยาบาลสตูล จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสะโพกหักที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยใช้แนวคิดทฤษฎีการเสริมสร้างพลังอำนาจของกิบสันเป็นแนวทาง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล มี 2 ส่วน ได้แก่ 1) แบบประเมินความรู้ความสามารถของผู้ดูแลมี 3 ส่วน ได้แก่ (1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแล (2) แบบประเมินความรู้ของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัด และ (3) แบบประเมินความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัด และ 2) แบบประเมินการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้สูงอายุที่ผ่าตัดกระดูกสะโพกหัก ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกการฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติการทดสอบที ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ดูแลในกลุ่มทดลองมีความรู้มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 2) ผู้ดูแลในกลุ่มทดลองมีความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสะโพกหักมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 3) ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองมีการฟื้นสภาพหลังการผ่าตัดกระดูกสะโพกหักมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (P< 0.05) ส่วนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันหลังผ่าตัดทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกัน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11480 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
161781.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 29.14 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License