Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11481
Title: การพัฒนาระบบการกำกับ ติดตาม และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Other Titles: The development of a monitoring and assessment system on desirable characteristics of primary students in Schools under Local Administration Organizations
Authors: วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมคิด พรมจุ้ย, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมถวิล วิจิตรวรรณา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปัญจาภรณ์ ตันทนิส, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: การวัดผลทางการศึกษา--ไทย
การศึกษาขั้นพื้นฐาน--ไทย--มาตรฐาน
นักเรียน--การประเมิน
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาระบบการกำกับ ติดตาม และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) ประเมินคุณภาพของระบบที่พัฒนา วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาระบบการกำกับ ติดตาม และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบ การวัดและประเมินผล การบริหารการศึกษา จำนวน 13 คน และครูและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, 3 และ 5 ของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 360 คน เครื่องมือวิจัย คือ ร่างระบบการกำกับ ติดตาม และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ฯ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินความเครื่องมือวัด แบบประเมินคุณภาพร่างระบบ แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโปรแกรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน จำนวน 3 ฉบับ และแบบประเมินตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม และนำแบบวัดทั้ง 4 ฉบับ ไปทดลองใช้กับครูและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, 3 และ 5 ของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อตรวจสอบอำนาจจำแนก ความตรงเชิงโครงสร้าง และความเที่ยงของเครื่องมือวัด ตลอดจนการทำงานของโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การประเมินคุณภาพของระบบการกำกับ ติดตาม และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน จำนวน 300 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ ระบบการกำกับ ติดตาม และประเมิน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ฯ คู่มือการใช้ระบบฯ และแบบประเมินคุณภาพของระบบฯ วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบการกำกับ ติดตาม และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ฯ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย คน เงิน วัสดุ และข้อมูลสารสนเทศ (2) กระบวนการ ประกอบด้วย การกำหนดพันธกิจ การทบทวนข้อมูล การวางแผนอนาคต ของการดำเนินการการกำกับ ติดตาม และประเมินผล (3) ผลลัพธ์ คือ รายงานผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนรายบุคคล รายพฤติกรรมบ่งชี้ และการรับรองมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา (4) ข้อมูลย้อนกลับ คือ รายงานผลการกำกับ ติดตาม และประเมิน เพื่อปรับปรุงและพัฒนา (3) สภาพแวดล้อม และ 2) ผลการประเมินคุณภาพของระบบการกำกับ ติดตาม และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ฯ พบว่า มีคุณภาพตามมาตรฐานการประเมิน คือ ด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้องในระดับมาก และความเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุด
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(ศึกษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11481
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_162537.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.86 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons