Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11487
Title: การศึกษาและพัฒนาความเมตตากรุณาต่อตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ด้วยโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยากลุ่มแบบบูรณาการ
Other Titles: A study and development of self-compaddion of Rajaphat University student with the use of integrated group psychological counseling program
Authors: นิรนาท แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิธิพัฒน์ เมฆขจร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมร แสงอรุณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กิดานันท์ ชำนาญเวช, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: การสำนึกตนเอง
การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบความเมตตากรุณาต่อตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ (2) พัฒนาโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาความเมตตากรุณาต่อตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ และ (3) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาความเมตตากรุณาต่อตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) องค์ประกอบของความเมตตากรุณาต่อตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การให้ตนเองมีความสุข ความรู้สึกเท่าเทียมในความเป็นมนุษย์ และการมีสติ ซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ผลการพัฒนาโปรแกรมการปรึกษา มีการบูรณาการทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา 6 ทฤษฎี ได้แก่ (ก) การยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง (ข) การพิจารณาเหตุผลอารมณ์ และพฤติกรรม (ค) เกสตอลท์ (ง) ภวนิยม (จ) การเผชิญความจริง และ (ฉ) แนวพุทธ โดยโปรแกรมการปรึกษา มีจำนวน 7 ครั้ง ประกอบด้วย (ก) การปฐูมนิเทศ (ข) การเข้าใจตนเองและเรียนรู้ผู้อื่น (ค) ความเชื่อที่ไร้เหตุผล (ง) การรับรู้และฝึกสติเรียนรู้คุณค่าของการมีชีวิตปัจจุบัน (จ) การเรียนรู้เพื่อการรักตนเอง (ฉ) ฉันเมื่อวันวานกับฉันที่เป็นปัจจุบัน และ(ช) การสร้างพันธะสัญญาและปัจฉิมนิเทศ และ (3) ผลการใช้โปรแกรมการปรึ๊กษาเชิงจิตวิทยากลุ่มแบบบูรณาการ พบว่าภายหลังการทดลอง นักศึกษากลุ่มทดลองมีความเมตตากรุณาต่อตนเองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักศึกษากลุ่มทดลองมีความเมตตากรุณาต่อตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และในระยะติดตามผล นักศึกษากลุ่มทดลองมีความเมตตากรุณาต่อตนเองสูงกว่าระยะหลังทดลอง อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11487
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
159477.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.06 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons