Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11497
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวินิจ เทือกทองth_TH
dc.contributor.authorสุทธิพงษ์ สุขพิศาล, 2530-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-02-19T04:02:38Z-
dc.date.available2024-02-19T04:02:38Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11497en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง พฤติกรรมการสอนของครู และความตั้งใจเรียนกับความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดกรุงเทพมหานคร และ (2) สร้างสมการพยากรณ์ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนในกลุ่มวิทยาเขตนวลจันทร์ กรุงเทพมหานครเขต 2 จำนวน 191 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*Power 3.1 และใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองแบบวัดพฤติกรรมการสอนของครู แบบวัดความตั้งใจเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ค่าความเที่ยงของเครื่องมือในการวิจัย คือ .863, .862, .911, .995 และ .942 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีค่าสูงสุด คือ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (solving) กับตัวแปรความตั้งใจเรียน (attention) มีค่าเท่ากับ .688 มีความสัมพันธ์ทางบวกขนาดสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าสหสัมพันธ์ที่มีค่ารองลงมา คือ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (solving) กับตัวแปรพฤติกรรมการสอนของครู (teaching) มีค่าเท่ากับ .669 เป็นความสัมพันธ์ทางบวกขนาดสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่า ตัวแปรเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ (attitude) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (efficacy) พฤติกรรมการสอนของครู (teaching) และความตั้งใจเรียน (attention) ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (solving) ได้เท่ากับ 65.99% และ (2) สมการพยากรณ์ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Solving' = -1.556 +0.364 (attitude) + 0.678 (efficacy) + 0.818 (teaching) + 0.696 (attention)th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectคณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ไทย--กรุงเทพฯth_TH
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง พฤติกรรมการสอนของครู และความตั้งใจเรียนกับความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeThe relationships of attitude toward Mathematics, self-efficacy, teacher’s teaching behaviors, and attention to learning with Mathematics problem solving ability of Mathayom Suksa IV students in Bangkok Metropolisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this researchwere (1) to study the relationships of attitude toward mathematics, self-efficacy, teacher’s teaching behaviors and attention to learning with mathematics problemsolving ability ofMathayomSuksa IV students in Bangkok Metropolis; and (2) to create an equation to predict mathematics problem solving ability of Mathayom Suksa IV students in Bangkok Metropolis. The research sample consisted of 191 Mathayom Suksa IV students studying during the 2019 academic year in Nuanchan Consortium schools in Bangkok Metropolitan Secondary Education Service Area 2, obtained by stratified random sampling. The sample size was determined with the use of the G * Power 3.1 Program. The employed research instruments consisted of a scale to assess attitude toward mathematics, a scale to assess self-efficacy, a scale to assess teacher’s teaching behaviors, a scale to assess attention to learning, and a mathematics problemsolving ability test. Statistics employed for data analysis were the mean, standard deviation, correlation, andmultiple regression analysis. Research findings revealed that (1) the highest correlation coefficient between the variables was the correlation between mathematics problem solving ability and attention to learning (r = .688), which was positive, at the high level and significant at the .01 level, followed by correlation between mathematics problemsolving ability and teacher’s teaching behaviors (r = .669), which was positive, at the high level and significant at the .01 level; in addition, results of multiple regression analysis showed that the four variables, namely, attitude toward mathematics, self-efficacy, teacher’s teaching behaviors, and attention to learning could be combined to explain the variance of mathematics problem solving ability by 65.9%; and (2) the equation to predict mathematics problem solving ability of students in the forms of raw score and standard score were as follows: Solving = -1.556 + 0.364(attitude) + 0.678(efficacy) + 0.818(teaching + 0.696(attention) Zsolving = 0.152 (Zattitude) + 0.172 (Zefficacy) + 0.358 (Zteaching) + 0.328 (Zattention)en_US
dc.contributor.coadvisorสุรีรัตน์ อารีรักษ์สกุล ก้องโลกth_TH
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
163560.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.31 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons