กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11497
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง พฤติกรรมการสอนของครู และความตั้งใจเรียนกับความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationships of attitude toward Mathematics, self-efficacy, teacher’s teaching behaviors, and attention to learning with Mathematics problem solving ability of Mathayom Suksa IV students in Bangkok Metropolis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วินิจ เทือกทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรีรัตน์ อารีรักษ์สกุล ก้องโลก, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุทธิพงษ์ สุขพิศาล, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ไทย--กรุงเทพฯ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง พฤติกรรมการสอนของครู และความตั้งใจเรียนกับความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดกรุงเทพมหานคร และ (2) สร้างสมการพยากรณ์ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนในกลุ่มวิทยาเขตนวลจันทร์ กรุงเทพมหานครเขต 2 จำนวน 191 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*Power 3.1 และใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองแบบวัดพฤติกรรมการสอนของครู แบบวัดความตั้งใจเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ค่าความเที่ยงของเครื่องมือในการวิจัย คือ .863, .862, .911, .995 และ .942 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีค่าสูงสุด คือ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (solving) กับตัวแปรความตั้งใจเรียน (attention) มีค่าเท่ากับ .688 มีความสัมพันธ์ทางบวกขนาดสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าสหสัมพันธ์ที่มีค่ารองลงมา คือ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (solving) กับตัวแปรพฤติกรรมการสอนของครู (teaching) มีค่าเท่ากับ .669 เป็นความสัมพันธ์ทางบวกขนาดสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่า ตัวแปรเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ (attitude) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (efficacy) พฤติกรรมการสอนของครู (teaching) และความตั้งใจเรียน (attention) ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (solving) ได้เท่ากับ 65.99% และ (2) สมการพยากรณ์ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Solving' = -1.556 +0.364 (attitude) + 0.678 (efficacy) + 0.818 (teaching) + 0.696 (attention)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11497
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
163560.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons