Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11501
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิระสุข สุขสวัสดิ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorลัดดาวรรณ ณ ระนอง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorศิรินทรา ตุ้ยหล้า, 2530--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-02-19T04:19:53Z-
dc.date.available2024-02-19T04:19:53Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11501-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบการฟื้นฟูพลังใจในภาวะวิกฤตของผู้หญิงที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวก่อนและหลังการทดลองใช้โปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม โดยใช้เทคนิคการแสดงความรู้สึกผ่านศิลปะ และ (2) เปรียบเทียบการฟื้นฟูพลังใจในภาวะวิกฤตของกลุ่มทดลองที่ใช้โปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม โดยใช้เทคนิคการแสดงความรู้สึกผ่านศิลปะและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลจากทีมสหวิชาชีพหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้หญิงที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวที่เข้ารับบริการจากศูนย์ช่วยเหลือสังคมจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 10 คนและกลุ่มควบคุม จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) โปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม โดยใช้เทคนิคการแสดงความรู้สึกผ่านศิลปะ เพื่อการฟื้นฟูพลังใจในภาวะวิกฤต (2) แผนการดูแลจากทีมสหวิชาชีพ และ (3) แบบวัดการฟื้นฟูพลังใจในภาวะวิกฤต มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติทดสอบ แมน-วิทนีย์ ยู และวิลคอกซัน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) กลุ่มทดลองที่ใช้โปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มโดยใช้เทคนิคการแสดงความรู้สึกผ่านศิลปะมีคะแนนเฉลี่ยการฟื้นฟูพลังใจในภาวะวิกฤตหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) กลุ่มทดลองที่ใช้โปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม โดยใช้เทคนิคการแสดงความรู้สึกผ่านศิลปะมีคะแนนเฉลี่ยการฟื้นฟูพลังใจในภาวะวิกฤตหลังการทดลองสูงกว่าของกลุ่มควบคุมที่ใช้แผนการดูแลจากทีมสหวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มth_TH
dc.subjectศิลปกรรมบำบัดth_TH
dc.titleผลของโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มโดยใช้เทคนิคการแสดงความรู้สึกผ่านศิลปะ เพื่อการฟื้นฟูพลังใจในภาวะวิกฤตของผู้หญิงที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ศูนย์ช่วยเหลือสังคม จังหวัดกำแพงเพชรth_TH
dc.title.alternativeThe effects of group psychological counseling program using art feeling to restore resilience quotient of violently domestic abused women in Social Assistance Center of Kamphaeng Phet Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were (1) to compare results of resilience quotient restoration of violently domestic abused women before and after the experiment with the group psychological counseling program using Art Feeling; and (2) to compare the post-experiment resilience quotient restoration result in the experimental group women who received the group psychological counseling program using Art Feeling with the post-experiment counterpart result in the control group women who had been taken care by a multi vocational team. The research sample consisted of 20 violently domestic abused women who came to receive the services from the Social Assistant Center of Kamphaeng Phet province. Then they were randomly assigned into an experimental group and a control group each of which consisting of 10 women. The employed research instruments were (1) a group psychological counseling program using Art Feeling to restore resilience quotient; (2) a help-care program from a multi vocational team; and (3) a scale to assess the restoration of resilience quotient, with reliability coefficient of .88. Statistics employed for data analysis were the Mann-Whitney U test and Wilcoxon signed-ranks test. This research found that (1) the post-experiment resilience quotient restoration mean score of the experiment group women who received the group psychological counseling program using Art Feeling was significantly higher than their pre-experiment counterpart mean score at the .05 level of statistical significance; and (2) the post-experiment resilience quotient restoration mean score of the experiment group women who received the group psychological counseling program using Art Feeling was significantly higher than the post-experiment counterpart mean score of the control group women who had been taken care by a multi vocational team at the .05 level of statistical significanceen_US
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
163573.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.03 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons