กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11508
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดการเรียนรู้ที่เน้นแบบจำลองที่มีต่อความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โครงสร้าง หน้าที่และการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of using model-centered instruction sequence on ability in making scientific model and learning achievement in structure function and reproduction of flowering plant of grade 11 students at Traimit Witthayalai School in Bangkok Metropolis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดวงเดือน สุวรรณจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุฬารัตน์ ธรรมประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปัญญา ภิรมย์จันทร์, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา--วิทยานิพนธ์
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ไทย--กรุงเทพฯ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โครงสร้าง หน้าที่และการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย ก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ที่เน้นแบบจำลอง และ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ที่เน้นแบบจำลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 39 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นแบบจำลอง (2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โครงสร้าง หน้าที่และการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอก และ (3) แบบประเมินการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โครงสร้าง หน้าที่และการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอก ของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ที่เน้นแบบจำลองสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ที่เน้นแบบจำลองเพิ่มสูงขึ้น โดยอยู่ในระดับดีร้อยละ 48.72 และความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ที่เน้นแบบจำลองสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(วิทยาศาสตร์ศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11508
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons