Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11516
Title: ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคการศึกษา 13
Other Titles: Academic leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office in Regional Education 13
Authors: อรรณพ จีนะวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัตนา ดวงแก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษา
วนิชา ประยูรพันธุ์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำทางการศึกษา
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคการศึกษา 13 (2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคการศึกษา 13 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และประสบการณ์การบริหาร และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคการศึกษา 13 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคการศึกษา 13 จำนวน 356 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น ผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และครูที่เชี่ยวชาญด้านวิชาการ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผู้บริหารสถานศึกษามีระดับภาวะผู้นำทางวิชาการ อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน (2) ผู้บริหารสถานศึกษาที่บริหารงานโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลางมีภาวะผู้นำทางวิชาการที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้บริหารโรงเรียนขนาดกลางมีภาวะผู้นำทางวิชาการมากกว่าผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก และผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์การบริหารต่างกันมีภาวะผู้นำทางวิชาการ ไม่แตกต่างกัน และ (3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ (3.1) ผู้บริหารควรพัฒนาความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ทั้งด้านความรู้ คุณธรรมจริยธรรม และสุขภาวะ (3.2) ควรมีการพัฒนาระบบบริหารจัดการโดยนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารวิชาการ (3.3) ควรพัฒนาระบบการกำกับติดตามกระบวนการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน ส่งเสริมการพัฒนาเครื่องมือการวัดผลและประเมินผลผู้เรียนที่มีคุณภาพให้กับครู และ (3.4) ควรส่งเสริมและจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้น่าอยู่ น่าเรียน มีความปลอดภัย และส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11516
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.86 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons