กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11520
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ หมู่ 5 ตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Participation development in water management for agriculture of user group members Moo 5, Thap Phueng Subdistrict, Si Samrong District Sukhothai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สัจจา บรรจงศิริ
สุรีรัตน์ พูลเจริญศิลป์, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ดุสิต เวชกิจ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์
การจัดการน้ำ--ไทย--สุโขทัย--การมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพข้อมูลพื้นฐานด้านสังคม เศรษฐกิจ ของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ หมู่ 5 ตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย 2) การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร ของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ หมู่ 5 ตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสาโรง จังหวัดสุโขทัย 3) การมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร ของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ หมู่ 5 ตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสาโรง จังหวัดสุโขทัย 4) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ หมู่ 5 ตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสาโรง จังหวัดสุโขทัย 5) แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ หมู่ 5 ตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสาโรง จังหวัดสุโขทัย การศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ ศึกษาจากประชากรทั้งหมดที่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ หมู่ 5 ตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสาโรง จังหวัดสุโขทัย จำนวน 127 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ตำบลทับผึ้ง คณะกรรมการกลุ่มผู้ใช้น้ำ 2 ราย ตัวแทนเกษตรกรผู้ใช้น้ำ 3 ราย และเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1 ราย รวมทั้งสิ้น 7 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การจำแนกและจัดระบบข้อมูล และการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพพื้นฐานของเกษตรกรสมาชิก ส่วนใหญ่เป็นหญิง มีอายุเฉลี่ย 54.72 ปี สถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นอาสาสมัครและผู้นำชุมชน เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และรับจ้าง มีแหล่งสินเชื่อมากกว่า 1 แหล่ง มีพื้นที่ทาการเกษตรเฉลี่ย 8.15 ไร่ 2) การจัดการน้ำเพื่อการเกษตรของสมาชิกกลุ่ม ประกอบด้วย การมีโครงสร้างการบริหารกลุ่ม มีกฎระเบียบ/ข้อบังคับ มีผู้นำของกลุ่ม มีการจัดการในภาวะวิกฤต และภัยธรรมชาติ มีการจัดการทางการเงิน และมีการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ 3) การมีส่วนร่วมของสมาชิก พบว่า สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามแผนเพื่อแก้ปัญหาอยู่ในระดับมาก ส่วนการวางแผน การแก้ไขปัญหา และการประเมินและติดตามผลการดำเนินงานมีส่วนร่วมในระดับปานกลาง 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิก ที่ระดับมาก คือปัจจัยด้านผลประโยชน์ที่ได้รับ และปัจจัยผลักดันโดยผู้อื่น ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยในด้านสภาพแวดล้อมอยู่มีในระดับปานกลาง 5) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมโดยการสร้างความเชื่อมั่นให้กับสมาชิกที่จะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ สร้างจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของ สร้างแรงจูงใจในการมีส่วนร่วม และสำรวจปัญหาและความต้องการของสมาชิก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11520
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons