Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11521
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | บุณฑริกา นันทา | th_TH |
dc.contributor.author | พงษ์ศักดิ์ แก้วศรี, 2525- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-02-20T02:09:12Z | - |
dc.date.available | 2024-02-20T02:09:12Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11521 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชที่มีผลต่อความสูงและขนาดทรงพุ่มของต้นคริสต์มาส 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ฟรีดอม และพันธุ์พิงก์ภูเรือ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก โดยให้สารควบคุมการเจริญเติบโตแก่ต้นคริสต์มาส คือ สารพาโคลบิวทราโซล (PBZ) สารจิบเบอเรลลิน (GA) และสาร 6-Benzylaminopurine (BA) ที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ โดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ใช้ต้นคริสต์มาสพันธุ์ฟรีดอม การทดลองที่ 2 ใช้ต้นคริสต์มาสพันธุ์พิงก์ภูเรือให้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช จำนวน 7 ทรีตเมนต์ ได้แก่ 1) ไม่ให้สาร 2) ราดสาร PBZ 5 ppm 3) ราดสาร PBZ 10 ppm 4) ราดสาร PBZ 5 ppm ร่วมกับฉีดพ่นสาร GA 3 ppm 5) ราดสาร PBZ 5 ppm ร่วมกับฉีดพ่นสาร BA 5 ppm 6) ราดสาร PBZ 10 ppm ร่วมกับฉีดพ่นสาร GA3 ppm และ 7) ราดสาร PBZ 10 ppm ร่วมกับฉีดพ่นสาร BA 5 ppm จำนวน 3 ซ้ำๆ ละ 7 กระถาง รวมทั้งหมดเป็นการทดลองละ 147 ต้น บันทึกผลการทดลองโดยวัดความสูงต้น ขนาดทรงพุ่ม จำนวนวันที่ใบ ประดับเริ่มเปลี่ยนสี พื้นที่ใบ พื้นที่ใบประดับ น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งของลำต้นและราก วิเคราะห์ความแปรปรวนเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยทรีตเมนต์ ด้วยวิธี Duncan’s New multiple Range Test (DMRT) ผลการวิจัย พบว่า การทดลองที่ 1 ความสูงต้น และจำนวนวันที่ใบประดับเริ่มเปลี่ยนสีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p > 0.01) การให้สาร PBZ 10 ppm มีความสูงต้นเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 36.46 และ 41.90 เซนติเมตร ใบประดับเริ่มเปลี่ยนสีเร็วที่สุด คือ 100 วัน เมื่อพิจารณาขนาดทรงพุ่มของต้นคริสต์มาสพันธุ์ฟรีดอม พบว่า ขนาดทรงพุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p > 0.01) โดยต้นที่ไม่ได้รับสารควบคุมการเจริญเติบโตมีขนาดทรงพุ่มเฉลี่ยมากที่สุด คือ 62.89 เซนติเมตร การทดลองที่ 2 ความสูงต้นและจำนวนวันที่ใบประดับเริ่มเปลี่ยนสีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญยิ่งทางสถิติ (p > 0.01) การให้สารสาร PBZ 10 ppm มีความสูงต้นเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 41.90 เซนติเมตร ใบประดับเริ่มเปลี่ยนสีเร็วที่สุด คือ 117 วัน ตามลำดับ เมื่อพิจารณาขนาดทรงพุ่ม พบว่า ขนาดทรงพุ่มไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p > 0.05) โดยต้นที่ได้รับสาร PBZ 5 ppm ร่วมกับฉีดพ่นสาร BA 5 ppm มีขนาดทรงพุ่มเฉลี่ยมากที่สุด 63.96 เซนติเมตร อย่างไรก็ตามการให้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืชที่มีความเข้มข้นสูงขึ้น ทำให้จำนวนยอด จำนวนใบ พื้นที่ใบ น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของลำต้นและรากลดลงด้วย จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า การให้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชที่เหมาะสมกับการผลิตต้นคริสต์มาสที่อำเภอภูเรือ จ.เลย คือ การราดสาร PBZ 5 ppm ร่วมกับฉีดพ่นสาร GA 3 ppm | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | คริสต์มาส--การเจริญเติบโต | th_TH |
dc.title | ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชต่อสัณฐานของต้นคริสต์มาส | th_TH |
dc.title.alternative | The effects of plant growth regulators on morphology of poinsettia | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรเกษตร) | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study were to estimate the effects of various concentrations of plant growth regulators on plant height and canopy of Poinsettia ‘Freedom’ and ‘Pink Phu Ruea’ cultivars. The experimental was designed by randomized complete block design using paclobutrazol (PBZ) gibberellin (GA) and 6-Benzylaminopurine (BA). There were two experiments, first was using Poinsettia cv. Freedom and second was using Poinsettia cv. Pink Phu Ruea with 7 treatments including 1) untreated (control), 2) PBZ 5 ppm, 3) PBZ 10 ppm, 4) PBZ 5 ppm with GA 3 ppm, 5) PBZ 5 ppm with BA 5 ppm, 6) PBZ 10 ppm with GA 3 ppm and 7) PBZ 10 ppm with BA 5 ppm; with 3 replications, 7 pots per replication, 147 pots per experiment. The results were measured in term of height, canopy size, period of bract coloration, leaf area, bract area, and fresh and dry weight of stems and roots. Analysis of variance (ANOVA) was performed and means among concentration at treatments were compared using Duncan’s New multiple Range Test (DMRT). The results revealed that the first experiment, plant height and number of days to bract coloration that were highly significant at p 0.01. The plant height of poinsettia ‘Freedom’ cultivars was reduced the most when plants were exposed to PBZ 10 ppm (36.40 cm.) The number of days to bract coloration was reduced to 100 days, Meanwhile, differences observed in the canopy size (62.89 cm.) was observed in the control group. Second experiment, plant height and number of days to bract coloration that were highly significant at p 0.01. The plant height of Poinsettia ‘Freedom’ cultivars was reduced the most when plants were exposed to PBZ 10 ppm (41.90 cm.) The number of days to bract coloration was reduced to 117 days. The canopy size was not significant at p 0.05, but the canopy size tended to be the highest under the application of PBZ 5 ppm with BA 5 ppm (63.96 cm.) However, when plant growth regulators were applied all the experimental plants had reduced shoot number, leaf number, leaf area, and fresh and dry weight of stems and roots. This result indicated that the most suitable application of plant growth regulators for Poinsettia production at Phu Ruea District, Loei Province is to apply PBZ 5 ppm together with GA 3 ppm. | en_US |
dc.contributor.coadvisor | อนันต์ พิริยะภัทรกิจ | th_TH |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License