กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11521
ชื่อเรื่อง: | ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชต่อสัณฐานของต้นคริสต์มาส |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of plant growth regulators on morphology of poinsettia |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บุณฑริกา นันทา พงษ์ศักดิ์ แก้วศรี, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อนันต์ พิริยะภัทรกิจ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์ คริสต์มาส--การเจริญเติบโต |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชที่มีผลต่อความสูงและขนาดทรงพุ่มของต้นคริสต์มาส 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ฟรีดอม และพันธุ์พิงก์ภูเรือ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก โดยให้สารควบคุมการเจริญเติบโตแก่ต้นคริสต์มาส คือ สารพาโคลบิวทราโซล (PBZ) สารจิบเบอเรลลิน (GA) และสาร 6-Benzylaminopurine (BA) ที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ โดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ใช้ต้นคริสต์มาสพันธุ์ฟรีดอม การทดลองที่ 2 ใช้ต้นคริสต์มาสพันธุ์พิงก์ภูเรือให้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช จำนวน 7 ทรีตเมนต์ ได้แก่ 1) ไม่ให้สาร 2) ราดสาร PBZ 5 ppm 3) ราดสาร PBZ 10 ppm 4) ราดสาร PBZ 5 ppm ร่วมกับฉีดพ่นสาร GA 3 ppm 5) ราดสาร PBZ 5 ppm ร่วมกับฉีดพ่นสาร BA 5 ppm 6) ราดสาร PBZ 10 ppm ร่วมกับฉีดพ่นสาร GA3 ppm และ 7) ราดสาร PBZ 10 ppm ร่วมกับฉีดพ่นสาร BA 5 ppm จำนวน 3 ซ้ำๆ ละ 7 กระถาง รวมทั้งหมดเป็นการทดลองละ 147 ต้น บันทึกผลการทดลองโดยวัดความสูงต้น ขนาดทรงพุ่ม จำนวนวันที่ใบ ประดับเริ่มเปลี่ยนสี พื้นที่ใบ พื้นที่ใบประดับ น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งของลำต้นและราก วิเคราะห์ความแปรปรวนเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยทรีตเมนต์ ด้วยวิธี Duncan’s New multiple Range Test (DMRT) ผลการวิจัย พบว่า การทดลองที่ 1 ความสูงต้น และจำนวนวันที่ใบประดับเริ่มเปลี่ยนสีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p > 0.01) การให้สาร PBZ 10 ppm มีความสูงต้นเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 36.46 และ 41.90 เซนติเมตร ใบประดับเริ่มเปลี่ยนสีเร็วที่สุด คือ 100 วัน เมื่อพิจารณาขนาดทรงพุ่มของต้นคริสต์มาสพันธุ์ฟรีดอม พบว่า ขนาดทรงพุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p > 0.01) โดยต้นที่ไม่ได้รับสารควบคุมการเจริญเติบโตมีขนาดทรงพุ่มเฉลี่ยมากที่สุด คือ 62.89 เซนติเมตร การทดลองที่ 2 ความสูงต้นและจำนวนวันที่ใบประดับเริ่มเปลี่ยนสีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญยิ่งทางสถิติ (p > 0.01) การให้สารสาร PBZ 10 ppm มีความสูงต้นเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 41.90 เซนติเมตร ใบประดับเริ่มเปลี่ยนสีเร็วที่สุด คือ 117 วัน ตามลำดับ เมื่อพิจารณาขนาดทรงพุ่ม พบว่า ขนาดทรงพุ่มไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p > 0.05) โดยต้นที่ได้รับสาร PBZ 5 ppm ร่วมกับฉีดพ่นสาร BA 5 ppm มีขนาดทรงพุ่มเฉลี่ยมากที่สุด 63.96 เซนติเมตร อย่างไรก็ตามการให้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืชที่มีความเข้มข้นสูงขึ้น ทำให้จำนวนยอด จำนวนใบ พื้นที่ใบ น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของลำต้นและรากลดลงด้วย จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า การให้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชที่เหมาะสมกับการผลิตต้นคริสต์มาสที่อำเภอภูเรือ จ.เลย คือ การราดสาร PBZ 5 ppm ร่วมกับฉีดพ่นสาร GA 3 ppm |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11521 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.18 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License