Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11522
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธำรงเจต พัฒมุขth_TH
dc.contributor.authorสุชาดา ถิ่นวงษ์แย, 2533-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-02-20T02:22:52Z-
dc.date.available2024-02-20T02:22:52Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11522en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) ความรู้ในการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยวิธีผสมผสาน 3) การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยวิธีผสมผสาน 4) ทัศนคติของเกษตรกรต่อการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยวิธีผสมผสาน และ 5) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยวิธีผสมผสานของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรอำเภอกงไกรลาศ ในปีการผลิต 2561 ถึง ปีการผลิต 2563 จำนวน 276 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวนตัวอย่าง 163 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกร ร้อยละ 53.4 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 53.91 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 20.64 ปี ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 3,683.10 บาทต่อไร่ ปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 1,127.24 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรมีหนี้สินร้อยละ 84.0 จำนวนหนี้สินเฉลี่ย 308,097.81 บาท และเกษตรกรมีแหล่งเงินทุนจาก ธ.ก.ส. ร้อยละ 76.7 2) เกษตรกร ร้อยละ 90.8 มีความรู้อยู่ในการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยวิธีผสมผสาน อยู่ในระดับปานกลาง 3) เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.1 มีการปฏิบัติในการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยวิธีผสมผสานอยู่ในระดับปานกลาง โดยวิธีการที่เกษตรกรเลือกใช้คือ (1) การสำรวจแปลง (2) วิธีเขตกรรม (3) การใช้สารเคมี (4) วิธีกล และ (5) และชีววิธี ตามลำดับ 4) เกษตรกรมีทัศนคติในด้านความเป็นประโยชน์ของการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยวิธีผสมผสานอยู่ในระดับมาก เช่น ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพเกษตรกร ลดปริมาณหนอนเมื่อปลูกในฤดูกาลใหม่ ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ทำให้ผลผลิตข้าวโพดลดลง ตามลำดับ 5) ปัจจัยที่มีต่อการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยวิธีผสมผสานของเกษตรกร ได้แก่ ทัศนคติต่อความเป็นประโยชน์ในการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยวิธีผสมผสาน และต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อไร่ มีปัจจัยในเชิงความคิดเห็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ ซึ่งทั้งสองตัวแปรมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเชิงพหุ ร้อยละ 38.4 (R2 = 0.384) ส่วนจำนวนหนี้สิน และการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยวิธีผสมผสานของเกษตรกรในเชิงการปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ ซึ่งทั้งสองตัวแปรมีค่าสัมประสิทธิ์เชิงพหุ ร้อยละ 10.0 (R2 = 0.100)th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectข้าวโพด--โรคและศัตรูพืช--การควบคุมแบบผสมผสานth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยวิธีผสมผสานของเกษตรกรในอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัยth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting integrated management of fall armyworm by farmers in Kong Krailat District, Sukhothai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการการเกษตร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) primary personal, socio-economic conditions of farmers, 2) knowledge of the integrated management of fall armyworm, 3) farmer's practice in managing fall armyworm by a combined method, 4) Farmers' attitudes towards integrated management of fall armyworm, and 5) Factors affecting integrated pest management of fall armyworm. The population used in the study were 276 maize farmers that registered with Kong Krailat District Agriculture Office in the production year 2018 to 2020. The sample size was determined using Taro Yamane's formula at the error value of 0.05. A total of 163 samples were obtained by simple random sampling. The data were collected via questionnaires and were analyzed using descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, maximum value, minimum value, standard deviation, and multiple regression analysis. The results of the study found that 1) 53.4% of farmers were female with an average age of 53.91 years, graduating from primary school. The farmers have 20.64 years of maize growing experience. The average production cost was 3,683.10 baht per rai, with an average yield of 1,127.24 kg per rai. 84.0 % of farmers had debt. An average debt amount was 308,097.81 baht, and a 76.7% funding source was from Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives (BAAC). 2) 90.8% of farmers knew about managing the fall armyworm by a combination method at a moderate level. 3) 49.1% of farmers had a moderate level of practice in managing the fall armyworm by the integrated method, and the methods chosen by farmers were (1) plot survey, (2) field method, (3) chemical use, (4) mechanical method, and (5) biological methods. 4) The farmers had a high level of attitudes towards the benefit of fall armyworm management. For example, no effect on farmers' health, reduced worm count when planting in the new season, did not cause environmental impact and did not reduce corn yield. 5) Factors affecting the farmer's management of the fall armyworm with an integrated approach were: attitudes towards the usefulness of management and the cost of maize production per rai. There was a statistically significant between the opinions at p=0.01 and 0.05, respectively. Both variables had a multiple decision coefficient of 38.4% (R2 = 0.384), and the study was affecting to the management of the fall armyworm with a combination of practical methods of farmers. There were statistically significant at p=0.01 and 0.05, both of which had multiple coefficients of determination R2 of 10.0% (R2= 0.100)en_US
dc.contributor.coadvisorนารีรัตน์ สีระสารth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.3 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons