Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11522
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยวิธีผสมผสานของเกษตรกรในอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย
Other Titles: Factors affecting integrated management of fall armyworm by farmers in Kong Krailat District, Sukhothai Province
Authors: ธำรงเจต พัฒมุข
สุชาดา ถิ่นวงษ์แย, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นารีรัตน์ สีระสาร
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ข้าวโพด--โรคและศัตรูพืช--การควบคุมแบบผสมผสาน
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) ความรู้ในการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยวิธีผสมผสาน 3) การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยวิธีผสมผสาน 4) ทัศนคติของเกษตรกรต่อการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยวิธีผสมผสาน และ 5) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยวิธีผสมผสานของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรอำเภอกงไกรลาศ ในปีการผลิต 2561 ถึง ปีการผลิต 2563 จำนวน 276 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวนตัวอย่าง 163 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกร ร้อยละ 53.4 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 53.91 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 20.64 ปี ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 3,683.10 บาทต่อไร่ ปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 1,127.24 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรมีหนี้สินร้อยละ 84.0 จำนวนหนี้สินเฉลี่ย 308,097.81 บาท และเกษตรกรมีแหล่งเงินทุนจาก ธ.ก.ส. ร้อยละ 76.7 2) เกษตรกร ร้อยละ 90.8 มีความรู้อยู่ในการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยวิธีผสมผสาน อยู่ในระดับปานกลาง 3) เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.1 มีการปฏิบัติในการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยวิธีผสมผสานอยู่ในระดับปานกลาง โดยวิธีการที่เกษตรกรเลือกใช้คือ (1) การสำรวจแปลง (2) วิธีเขตกรรม (3) การใช้สารเคมี (4) วิธีกล และ (5) และชีววิธี ตามลำดับ 4) เกษตรกรมีทัศนคติในด้านความเป็นประโยชน์ของการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยวิธีผสมผสานอยู่ในระดับมาก เช่น ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพเกษตรกร ลดปริมาณหนอนเมื่อปลูกในฤดูกาลใหม่ ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ทำให้ผลผลิตข้าวโพดลดลง ตามลำดับ 5) ปัจจัยที่มีต่อการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยวิธีผสมผสานของเกษตรกร ได้แก่ ทัศนคติต่อความเป็นประโยชน์ในการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยวิธีผสมผสาน และต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อไร่ มีปัจจัยในเชิงความคิดเห็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ ซึ่งทั้งสองตัวแปรมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเชิงพหุ ร้อยละ 38.4 (R2 = 0.384) ส่วนจำนวนหนี้สิน และการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดด้วยวิธีผสมผสานของเกษตรกรในเชิงการปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ ซึ่งทั้งสองตัวแปรมีค่าสัมประสิทธิ์เชิงพหุ ร้อยละ 10.0 (R2 = 0.100)
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11522
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.3 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons