Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11524
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธำรงเจต พัฒมุข, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorจรรยา สิงห์คำ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorศักดิ์ชัย วิชานำ, 2527--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-02-20T02:37:25Z-
dc.date.available2024-02-20T02:37:25Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11524-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม 2) ความรู้เกี่ยวกับโรคใบด่างมันสำปะหลังและการจัดการ 3) ประเมินการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังในแปลงของเกษตรกร 4) วิธีการปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมการระบาดโรคใบด่างมันสำปะหลัง 5) แนวทางในการป้องกันและควบคุมการระบาดโรคใบด่างมันสำปะหลังของเกษตรกร ประชากรในการศึกษา คือ กลุ่มเกษตรแบบแปลงใหญ่มันสำปะหลัง ตำบลยางราก อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี จำนวน 88 รายโดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด และเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 15 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา การประเมินการระบาดของโรคใช้วิธีการเดินสำรวจแปลง 1 แถว เว้น 3 แถว ในลักษณะตัว U กำหนดจุดสำรวจ โดยนับจำนวนแมลงหวี่ขาวยาสูบ และอาการโรคใบด่างมันสำปะหลังด้วยสายตา ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 54.3 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา มันสำปะหลังที่เกษตรกรนิยมปลูกคือ พันธุ์ระยอง 72 พันธุ์เกษตรศาสตร์ 72 และพันธุ์ระยอง 5 ตามลำดับ 2) เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.30 มีความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง อยู่ในระดับดีมาก และ เกษตรกร ร้อยละ 62.50 มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดการโรค อยู่ในระดับดีมาก 3) ผลการสำรวจแปลงเกษตรกรที่สุ่ม 30 จุดต่อพื้นที่ 10 ไร่ จำนวน 4 แปลง พบแมลงหวี่ขาวเฉลี่ย 155.25 ตัว/10ไร่ (ไม่มีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจ) พบมากบริเวณที่มีการแตกยอดอ่อน และไม่พบต้นมันสำปะหลังที่แสดงอาการโรคใบด่าง 4) เกษตรส่วนใหญ่มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการโรค ได้แก่ (1) เมื่อพบมันสำปะหลังมีอาการโรคใบด่าง จะรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรหรือผู้นำชุมชน และทำลายต้นที่เป็นโรคตามคำแนะนาของกรมวิชาการเกษตร (2) ใช้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่ปลอดโรคและแมลงพาหะ จากแหล่งที่เชื่อถือได้ และ (3) พ่นสารเคมีเพื่อกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบ 5) แนวทางในการป้องกันและควบคุมการระบาดโรค คือ (1) ส่งเสริมการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่ปลอดโรค และแมลงพาหะ (2) บังคับใช้กฎหมาย และมาตรการควบคุมการลักลอบขนย้ายท่อนพันธุ์มันสำปะหลังจากแหล่งที่มีการระบาดของโรค (3) เพิ่มทักษะการสำรวจและจดบันทึกการสำรวจแปลงอย่างสม่าเสมอ (4) สร้างความตระหนักในชุมชน เพื่อให้เกิดการร่วมมือในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค และ (5) การสร้างการรับรู้และการติดตามเฝ้าระวังการระบาดอย่างต่อเนื่องth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมันสำปะหลัง--โรคและศัตรูพืชth_TH
dc.titleแนวทางการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังของเกษตรกร ตำบลยางราก อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรีth_TH
dc.title.alternativeGuidelines for the prevention and control of the outbreak of cassava mosaic disease by Farmer in Yang Rak Sub-district, Khok Charoen District, Lop Buri Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรเกษตร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed 1) to study the basic economic and social conditions of cassava farmers in the study area; 2) to study their knowledge about cassava mosaic virus disease and its management; 3) to evaluate the outbreak of cassava leaf spot disease in farmers' plots; 4) to study farmers’ methods for the prevention and control of cassava mosaic virus disease; and 5) to propose guidelines for the prevention and control of cassava mosaic virus outbreaks. The study population was 88 farmers in the large-scale cassava agricultural group, Yang Rak Sub-district, Khok Charoen District, Lopburi Province, and 15 government officials. Data were collected using an interview form and were analyzed by descriptive statistics. Assessment of disease outbreaks was carried out using a walking survey of plots in a U-shaped manner, checking one row every 4 rows. The number of tobacco whitefly was counted along with a visual check for symptoms of cassava leaf spot. The results indicated that (1) most farmers were female, aged 54.3 years, and their education level was primary school. The most popular types of cassava that farmers grew were Rayong 72, Kasetsart 72, and Rayong 5, respectively. (2) Most farmers, 61.30 percent, knew about cassava mosaic virus disease at a very high level, and 62.50% of farmers knew disease management methods at a very high level. (3) The survey results of 30 random farmer plots per area of 4 plots of 10 rai showed an average of 155.25 whitefly/10 rai, which was found mainly in the bud sprout area, and cassava plants showing symptoms of leaf spot disease were not found. (4) The majority of farmers practiced disease management as follows: 1) When cassava with signs of blight disease was found, farmers would promptly notify agricultural office officials or community leaders and destroy diseased plants as recommended by the Department of Agriculture; 2) use cassava stalks that are free from disease and pests, obtained from reliable sources; and 3) spray chemicals to get rid of the tobacco whitefly. (5) Guidelines for prevention and control of disease outbreaks are: 1) promote the production of disease- and pest-free cassava stalks; 2) enforce the law and measures to control the smuggling of cassava stalks from outbreak areas; 3) regularly increase survey skills and take notes on plot surveys; 4) raise awareness in the community to prevent and control the spread of disease; and 5) create awareness and keep up continuous surveillance of outbreaksen_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.57 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons