กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11524
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังของเกษตรกร ตำบลยางราก อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for the prevention and control of the outbreak of cassava mosaic disease by Farmer in Yang Rak Sub-district, Khok Charoen District, Lop Buri Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธำรงเจต พัฒมุข ศักดิ์ชัย วิชานำ, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา จรรยา สิงห์คำ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์ มันสำปะหลัง--โรคและศัตรูพืช |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม 2) ความรู้เกี่ยวกับโรคใบด่างมันสำปะหลังและการจัดการ 3) ประเมินการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังในแปลงของเกษตรกร 4) วิธีการปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมการระบาดโรคใบด่างมันสำปะหลัง 5) แนวทางในการป้องกันและควบคุมการระบาดโรคใบด่างมันสำปะหลังของเกษตรกร ประชากรในการศึกษา คือ กลุ่มเกษตรแบบแปลงใหญ่มันสำปะหลัง ตำบลยางราก อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี จำนวน 88 รายโดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด และเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 15 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา การประเมินการระบาดของโรคใช้วิธีการเดินสำรวจแปลง 1 แถว เว้น 3 แถว ในลักษณะตัว U กำหนดจุดสำรวจ โดยนับจำนวนแมลงหวี่ขาวยาสูบ และอาการโรคใบด่างมันสำปะหลังด้วยสายตา ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 54.3 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา มันสำปะหลังที่เกษตรกรนิยมปลูกคือ พันธุ์ระยอง 72 พันธุ์เกษตรศาสตร์ 72 และพันธุ์ระยอง 5 ตามลำดับ 2) เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.30 มีความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง อยู่ในระดับดีมาก และ เกษตรกร ร้อยละ 62.50 มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดการโรค อยู่ในระดับดีมาก 3) ผลการสำรวจแปลงเกษตรกรที่สุ่ม 30 จุดต่อพื้นที่ 10 ไร่ จำนวน 4 แปลง พบแมลงหวี่ขาวเฉลี่ย 155.25 ตัว/10ไร่ (ไม่มีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจ) พบมากบริเวณที่มีการแตกยอดอ่อน และไม่พบต้นมันสำปะหลังที่แสดงอาการโรคใบด่าง 4) เกษตรส่วนใหญ่มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการโรค ได้แก่ (1) เมื่อพบมันสำปะหลังมีอาการโรคใบด่าง จะรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรหรือผู้นำชุมชน และทำลายต้นที่เป็นโรคตามคำแนะนาของกรมวิชาการเกษตร (2) ใช้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่ปลอดโรคและแมลงพาหะ จากแหล่งที่เชื่อถือได้ และ (3) พ่นสารเคมีเพื่อกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบ 5) แนวทางในการป้องกันและควบคุมการระบาดโรค คือ (1) ส่งเสริมการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่ปลอดโรค และแมลงพาหะ (2) บังคับใช้กฎหมาย และมาตรการควบคุมการลักลอบขนย้ายท่อนพันธุ์มันสำปะหลังจากแหล่งที่มีการระบาดของโรค (3) เพิ่มทักษะการสำรวจและจดบันทึกการสำรวจแปลงอย่างสม่าเสมอ (4) สร้างความตระหนักในชุมชน เพื่อให้เกิดการร่วมมือในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค และ (5) การสร้างการรับรู้และการติดตามเฝ้าระวังการระบาดอย่างต่อเนื่อง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11524 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.57 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License