กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11527
ชื่อเรื่อง: การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ความเสี่ยง และการรับรู้ถึงประโยชน์ที่มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการธนาคารบนโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคในจังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: How exposure to news and awareness of risk and benefits affects Kanchanaburi Province consumers’ intentions to use online banking services via mobile phone
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิยฉัตร ล้อมชวการ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กมลรัฐ อินทรทัศน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนะชัย หนันแก้ว, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: การเปิดรับข่าวสาร
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้บริการธนาคารบนโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคในจังหวัดกาญจนบุรีเกี่ยวกับ 1) ความตั้งใจใช้บริการตามลักษณะประชากร 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารกับความตั้งใจใช้บริการ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเสี่ยงกับความตั้งใจใช้บริการ และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ถึงประโยชน์กับความตั้งใจใช้บริการ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการธนาคารทางโทรศัพท์มือถือในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 405 คน ได้จากตารางการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความตั้งใจใช้บริการธนาคารทางโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภค แตกต่างกันตามลักษณะของประชากรคือเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอาชีพ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 2) การเปิดรับข่าวสารมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำมากกับความตั้งใจใช้บริการธนาคารทางโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคในจังหวัดกาญจนบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ผู้บริโภคที่มีการเปิดรับข่าวสารเพิ่มมากขึ้นจะทำให้ความตั้งใจใช้บริการเพิ่มขึ้นตามไปด้วย 3) การรับรู้ความเสี่ยงมีความสัมพันธ์ทางลบระดับต่ำมากกับความตั้งใจใช้บริการธนาคารทางโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคในจังหวัดกาญจนบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เมื่อผู้บริโภคมีการรับรู้ความเสี่ยงน้อยลงจะทำให้ความตั้งใจใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และ 4) การรับรู้ถึงประโยชน์มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความตั้งใจใช้บริการธนาคารทางโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคในจังหวัดกาญจนบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 เมื่อทำให้ผู้บริโภคมีการรับรู้ถึงประโยชน์มากขึ้นจะทำให้มีความตั้งใจใช้บริการเพิ่มมากขึ้นด้วย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ นศ.ม.(การบูรณาการการสื่อสาร)--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11527
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
163615.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons