กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11533
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรของเกษตรกรในตำบลหนองสูงใต้ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating to farmers' participation in the formulation of the agricultural development planning in Nong Sung Tai Sub-district, Nong Sung District, Mukdahan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม
ดาวฤดี มีชัย, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน
คำสำคัญ: การพัฒนาการเกษตร--ไทย--การมีส่วนร่วมของประชาชน.
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทําแผนพัฒนาการเกษตรของเกษตรกร 3) การมีส่วนร่วมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการจัดทําแผนพัฒนาการเกษตรของเกษตรกร 4 ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการจัดทําแผนพัฒนาการเกษตรของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครัวเรือนเกษตรกรที่มีการอื่นทะเบียนเกษตรกรกับสํานักงานเกษตรอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ในปีการผลิต 2561/2562 จํานวน 1,026 ครัวเรือน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่ ที่ค่าความคาดเคลื่อน 0.07 ได้ 166 คน ทําการสุ่มตัวอย่าง แบบง่ายด้วยวิธีการจับสลากตามรายชื่อเกษตรกรตามสัดส่วนทีจําหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับและการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกร ร้อยละ 51.8 เป็นเพศชาย อายุเฉลีย 53.36 ปี ร้อยละ 35.5 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 30.1 ไม่มีตำแหน่งทางสังคม 2) เกษตรกร ร้อยละ 79.5 มีความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรในระดับมากที่สุด โดยตอบถูกมากที่สุด ประเด็นแผนงาน/โครงการ ต้องสามารถแก้ไขปัญหาของพื้นที่ได้ ขณะเดียวกันตอบผิดมากที่สุด ประเด็นความสำเร็จของแผนพัฒนาการเกษตรคือการใช้งบประมาณให้มากที่สุด และเห็นด้วยกับการจัดทําแผนพัฒนาการเกษตร อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเห็นด้วยมากที่สุด ในประเด็นควรมีเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นผู้นำในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร 3) เกษตรกรมีส่วนร่วมการในการจัดทําแผนพัฒนาการเกษตรอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการจัดทําแผนพัฒนาการเกษตร คือ ตำแหน่งทางสังคมในปัจจุบัน และความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร ที่ระดับนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ 0.01 และระดับการศึกษา ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 4) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรอยู่ในระดับน้อย โดยประเด็นที่มีปัญหามากที่สุด คือการมีส่วนร่วมในการประเมินผล โดยเกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการจัดทําแผนพัฒนาการเกษตร ในระดับมาก โดยประเด็นที่เห็นด้วยมากที่สุด คือ ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11533
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
165519.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons