กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11534
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาการเกษตรของตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guideline for agricultural development of Tubtao Sub-district, Thoeng District, Chiangrai Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สัจจา บรรจงศิริ กษิดิศ ศรีพันธุ์, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรรธนัย อ้นสำราญ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์ การพัฒนาการเกษตร--ไทย--เชียงราย |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเกษตรระดับตำบลตับเต่า 2) สภาพข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกรตำบลตับเต่า 3) ปัญหา และข้อเสนอแนะในการพัฒนาการเกษตรของเกษตรกรตำบลตับเต่า 4) แนวทางการพัฒนาการเกษตรของตำบลตับเต่า ใช้การวิจัยแบบผสมผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ เกษตรกรในพื้นที่ตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยการใช้สูตร ทาโร่ ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 343 ราย เก็บข้อมูลโดยการสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา และการวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจาก ผู้นำอาชีพทางการเกษตรในแต่ละสาขา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร รวมทั้งสิ้น 30 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมมนาแบบมีส่วนร่วม ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพแวดล้อมของพื้นที่มีลักษณะเป็นพื้นที่สูง มีอากาศร้อนชื้น มี 3 ฤดู เขตภูเขาจะมีอากาศเย็นสบายตลอดปี และมีอากาศหนาวจัดในฤดูหนาว มีทั้งหมด 25 หมู่บ้าน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก 2) ข้อมูลพื้นฐาน เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 46.21 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้น มีสมาชิกในครัวเรือน 5 คนขึ้นไป มีการใช้แรงงาน เฉลี่ย 3.93 คน รายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 69,795.89 บาท/ปี การถือครองที่ดินเฉลี่ย 18.86 ไร่ แหล่งเงินทุนกู้ยืมจากกองทุนหมู่บ้าน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สถานภาพทางสังคมมีตำแหน่งคณะกรรมการหมู่บ้านมากที่สุด รับรู้ข้อมูลด้านการจัดทาแผนการพัฒนาการเกษตรจากหอกระจายข่าวหมู่บ้าน เฉลี่ย 6.97 ครั้ง/ปี และส่วนใหญ่ไม่เคยติดต่อกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะ ปัญหาของเกษตรกร พบว่า มีปัญหาทั้ง 10 ด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ (1) ด้านตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตร (2) ด้านการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการทำฟาร์ม (3) ด้านสภาพท้องถิ่นและทรัพยากร (4) ด้านสิ่งจูงใจในการผลิต (5) ด้านการคมนาคมขนส่ง (6) ด้านการศึกษาทำให้เกิดการพัฒนา (7) ด้านสินเชื่อเพื่อการเกษตร (8) ด้านกลุ่มเกษตรกร (9) ด้านการปรับปรุงพื้นที่การเกษตร (10) ด้านการวางแผนพัฒนาการเกษตร ความต้องการของเกษตรกรทั้ง 10 ด้าน พบว่า เกษตรกรมีความต้องการปัจจัยด้านตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตรอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) แนวทางการพัฒนาการเกษตรของตำบลตับเต่า มี 6 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการผลิต (2) ด้านการตลาด (3) ด้านการพัฒนาเกษตรกร (4) ด้านการพัฒนาพื้นที่เกษตร (5) ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (6) ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11534 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.07 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License