Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11537
Title: | บทบาททางการเมืองของนายกเทศมนตรีตำบลบ้านเชียง ในการผลักดันวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นไทพวนบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ช่วง พ.ศ. 2555 - 2559 |
Other Titles: | Political role of Ban Chiang Sub-district mayor in promoting a local culture of Tai Phuan Ban Chiang, Nong Han district, Udon Thani Province During 2012 to 2016 |
Authors: | ธโสธร ตู้ทองคำ มานพ มนตรีพิทักษ์, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ยุทธพร อิสรชัย |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--วิทยานิพนธ์ นายกเทศมนตรี--กิจกรรมทางการเมือง |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาททางการเมืองของนายกเทศมนตรีตำบลบ้านเชียง ในการผลักดันวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นไทพวนบ้านเชียง ช่วง พ.ศ. 2555 – 2559 (2) ศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนบทบาททางการเมืองของนายกเทศมนตรีตำบลบ้านเชียง (3) ศึกษาผลกระทบที่เกิดจากบทบาททางการเมืองของนายกเทศมนตรีตำบลบ้านเชียง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ประชากรการวิจัยในเขตพื้นที่เขตเทศบาลตำบลบ้านเชียง แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มผู้บริหารเทศบาลตำบลบ้านเชียง 5 คน (2) เจ้าหน้าที่ของรัฐ 5 คน (3) นักธุรกิจ 2 คน (4) กลุ่มอาชีพ 5 คน (5) นักวิชาการและสื่อมวลชน 2 คน รวมเป็นจำนวน 19 คน นำข้อมูลจากการสัมภาษณ์ที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาแบบเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาททางเมืองของนายกเทศมนตรี ได้แก่ ด้านการกำหนดนโยบายจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นผ่านการจัดทำประชาคมร่วมกับชุมชน ด้านการบริหารจัดการจัดสรรทรัพยากรได้วางกลยุทธ์โครงการแผนงานที่เหมาะสมนำเสนอร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่มีอย่างจำกัด ด้านการเชื่อมประสานในฐานะตัวแทนขององค์กรดำเนินการตามแผนพัฒนาแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาอาชีพจากการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน (2) ปัจจัยภายนอกที่สนับสนุน มาจากรัฐธรรมนูญ 2540 กำหนดแผนขั้นตอนกระจายอำนาจแก่ท้องถิ่น แผนพัฒนาจังหวัดอุดรธานีเน้นความเป็นศูนย์กลางลุ่มแม่น้ำโขง ปัจจัยภายในด้านตัวนายกเทศมนตรี จากฐานะทางสังคมกลุ่มทางการเมืองและเครือญาติ (3) ผลกระทบ แบ่งเป็น ด้านการเมืองการนานโยบายมาปฏิบัติเกิดการมีส่วนร่วมทางการเมือง เกิดความมีเสถียรภาพทางการเมืองของนายกเทศมนตรีโดยสภาทั้งสองเป็นกลุ่มทางการเมืองเดียวกัน เกิดการพึ่งพิงและระบบอุปถัมภ์จากตัวนายกเทศมนตรี ด้านสังคมเกิดกลุ่มใหม่ทางสังคมจากการจัดระเบียบทางสังคม เกิดความสามัคคีจากการมีส่วนร่วมจัดกิจกรรมของเทศบาล การวิพากษ์วิจารณ์จากการใช้อำนาจทางการเมืองเกิดผลประโยชน์ต่างตอบแทน ผลกระทบต่อตัวนายกเทศมนตรี คือ การได้รับการสนับสนุนทางการเมืองจากความมุ่นมั่น ความเสียสละ จากความเชื่อมั่นในตนเองสูง การบริหารจัดการเน้นตัวบุคคล ส่งผลต่อการสนับสนุนทางการเมืองลดลง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.(การเมืองการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11537 |
Appears in Collections: | Pol-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 22.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License