กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11540
ชื่อเรื่อง: ระบบพยากรณ์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจศึกษาต่อหลังสำเร็จมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้อัลกอริธึมป่าสุ่ม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A predictive system to support decision-making on further education after junior high school using the random forest algorithm
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฐพร เห็นเจริญเลิศ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วฤษาย์ ร่มสายหยุด, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรเทพ วันกาล, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบจำลองพยากรณ์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจศึกษาต่อหลังสำเร็จมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้อัลกอริธึมป่าสุ่ม 2) ประเมินประสิทธิภาพของแบบจำลองพยากรณ์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจศึกษาต่อหลังสำเร็จมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) พัฒนาระบบพยากรณ์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจศึกษาต่อหลังสำเร็จมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้วิจัยใช้ชุดข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 - 2560 ได้ถูกนำมาวิเคราะห์โดยนำกลุ่มตัวอย่างข้อมูลของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 1,030 เรคคอร์ด ซึ่งประกอบไปด้วย 8 กลุ่มสาระวิชา 7 คุณลักษณะ นำมาสร้างแบบจำลองทดสอบประสิทธิภาพ โดยใช้อัลกอริธึม 3 อัลกอริธึม ได้แก่ 1) อัลกอริธึม C4.5(J48) 2) อัลกอริธึมต้นไม้สุ่ม และ 3) อัลกอริธึมป่าสุ่ม เพื่อทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพแบบจำลองพยากรณ์ และใช้การเลือกคุณลักษะแบบ InfoGainAttributeEval ทดสอบประสิทธิภาพด้วยวิธี 10-fold cross-validation โดยใช้โปรแกรม Weka แล้วนำผลการทดสอบที่ได้มาพัฒนาระบบพยากรณ์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจศึกษาต่อหลังสำเร็จมัธยมศึกษาตอนต้นใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ผลการวิจัยนี้พบว่าอัลกอริธึมป่าสุ่มมีค่าประสิทธิภาพมากที่สุดค่าความถูกต้องร้อยละ 73.20 ค่าความแม่นยำเท่ากับร้อยละ 73.0 ค่าความครบถ้วนเท่ากับร้อยละ 73.0 ค่าประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับร้อยละ 73.0
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11540
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Science Tech - Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons