กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11542
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีในการเป็นศูนย์กลางการจัดเก็บเอกสารกลางของกองบรรณสารและห้องสมุด กระทรวงการต่างประเทศ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of Best Practices in Ministry record repository for Archives and Library Division, Ministry of Foreign Affairs
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: น้ำทิพย์ วิภาวิน
ทรรศนพร ระหงษ์, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จิรบดี เตชะเสน
ฐิติมา ธรรมบำรุง
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
กระทรวงการต่างประเทศ. กองบรรณสารและห้องสมุด--การบริหาร
การจัดการข้อมูลแบบครบวงจรในห้องสมุด
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพศูนย์กลางการจัดเก็บเอกสารกลางของ กองบรรณสารและห้องสมุด กระทรวงการต่างประเทศ และ (2) พัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีในการเป็นศูนย์กลางการจัดเก็บเอกสารกลางของกองบรรณสารและห้องสมุด กระทรวงการต่างประเทศ วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรฝ่ายบรรณสาร กองบรรณสารและห้องสมุด กระทรวงการต่างประเทศ จำนวน 28 คน โดยวิธีการเลือกประชากรแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการกองบรรณสารและห้องสมุด บรรณารักษ์ เจ้าพนักงานห้องสมุด พนักงานจัดระบบเอกสาร และแหล่งข้อมูลหลัก ได้แก่ มาตรฐานการจัดเก็บเอกสารจากหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 5 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพศูนย์กลางการจัดเก็บเอกสารกลางของกองบรรณสารและห้องสมุด มีการบริหารงานและขั้นตอนการดำเนินงานตามแนวทางการจัดการเอกสารของหน่วยงานภาครัฐที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติจดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ. 2556 และมาตรฐานสากล ISO 15489 การจัดการเอกสาร ได้แก่ การจัดตั้งหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบการจัดเก็บเอกสาร การมอบหมายหน้าที่และจัดสรรบุคลากรในการปฏิบัติงาน การดำเนินงานโดยการสำรวจเอกสาร การวิเคราะห์ภารกิจขององค์กรเพื่อจัดทำแผนการจัดหมวดหมู่เอกสาร เกณฑ์การประเมินคุณค่าเอกสาร การพัฒนาระบบงานสารบรรณ การสงวนรักษาเอกสารด้วยวัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยีที่เหมาะสม และการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งพบว่าการจัดสรรบุคลากรที่มีความรู้และเพียงพอเป็นส่วนสำคัญในการจัดเก็บเอกสาร (2) แนวปฏิบัติที่ดีในการเป็นศูนย์กลางการจัดเก็บเอกสารกลางของกองบรรณสารและห้องสมุด เป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นไปตามมาตรฐาน ได้แก่ 1) การจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบการจัดเก็บเอกสารและจัดสรรบุคลากรที่มีความรู้อย่างเพียงพอในการจัดเก็บเอกสาร 2) การจัดทำแผนการจัดหมวดหมู่เอกสารและกำหนดเกณฑ์การประเมินคุณค่าเอกสารโดยจัดทำเครื่องมือปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับหน่วยงานเพื่อจัดเก็บเอกสารให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 3) การออกแบบพัฒนาระบบงานสารบรรณสำหรับเอกสารกระดาษและอิเล็กทรอนิกส์ การใช้เทคโนโลยี การจัดสรรพื้นที่และวัสดุให้เพียงพอ 4) การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในการสงวนรักษาเอกสารตลอดระยะเวลาการดำเนินงาน และ 5) การประเมินผล การตรวจสอบและการปรับปรุงระบบอย่างสม่ำเสมอ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11542
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons